ข่าวผู้บริหาร



สถ. ร่วมกับ JICA และ depa จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ (EGM) ระดมความเห็นเพื่อจัดทำ "ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะที่ครอบคลุมและยั่งยืน"
 


เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ณ ห้องดวงกมล โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นำโดย นายธีรยุทธ สำราญทรัพย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับ Mr.Atsushi Koresawa ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นในระยะยาวปฏิบัติงานภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กับ JICA (Japan International Cooperation Agency) หัวข้อ Local Development Plan and Building Partnerships for Sustainable Cities และ Mr.Ryoichi Kawabe ผู้แทนอาวุโส JICA และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) นำโดย ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ ดร.อรฉัตร เลียงภิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริม และ ร่วมจัดการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group Meeting: EGM ) หัวข้อ "การพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะที่ครอบคลุมและยั่งยืน (Advancing Inclusive and Sustainable Smart Cities for All)" โดยเชิญผู้แทนหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อให้ความเห็นต่อแนวทางปฏิบัติเชิงนโยบายด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน (Advancing Inclusive and Sustainable Smart Cities: Comprehensive Policy Guidelines) และหารือการพัฒนาแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อให้ทุกกลุ่มพื้นที่ โดยเฉพาะระดับท้องถิ่นได้ใช้เป็นแนวทางนำมาพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน
 


โดยที่ประชุมมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน อาทิ กรมโยธาธิการและผังเมือง UNDP UNHabitat ผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น ระดมสมองเพื่อสร้างแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะในพื้นที่ระดับท้องถิ่น โดยดร.ภาสกร ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า "เน้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง (human centric) และให้ความสำคัญกับข้อมูลเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเมือง (data driven)" และที่ประชุมได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะใน 10 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 การกำหนดวิสัยทัศน์ ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs และเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน แนวทางที่ 3 การกำหนดปัญหาจากความต้องการในพื้นที่ แนวทางที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพ อปท. แนวทางที่ 5 การส่งเสริมการพัฒนาอย่างเท่าเทียม แนวทางที่ 6 การพัฒนาที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม แนวทางที่ 7 การให้ความสำคัญกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์และการจัดการสิ่งแวดล้อม แนวทางที่ 8 การรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวทางที่ 9 การบริหารแบบบูรนาการและการแบ่งปันทรัพยากร และแนวทางที่ 10 ส่งเสริมสร้างพันธมิตรกับทุกภาคส่วน
 


ผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความคิดเห็นเพื่อทำให้ policy guideline มีความสะท้อนกับบริบทที่แท้จริง โดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) มีแผนในการนำ policy guideline เผยแพร่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำไปเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคตต่อไป
 


-
 


-
 


-
 


-
 


-
 


-
 




จำนวนผู้เข้าชม 81