FAQs

     จำนวนรายการต่อหน้า

คำตอบ (1): ตามข้อ 26 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ได้กำหนดว่า เมื่อถึงเวลานัดประชุมและสมาชิกสภาท้องถิ่นมาครบองค์ประชุมแล้ว แต่ไม่มีประธานสภาท้องถิ่นและรองประธานสภาท้องถิ่น ก็ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้มีอายุมากที่สุด ซึ่งอยู่ในที่ประชุมคราวนั้นเป็นประธานที่ประชุมชั่วคราว เพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นเลือกกันเองเป็นประธานที่ประชุมคราวนั้น ประธานที่ประชุมคราวนั้นต้องจัดให้มีการเลือกประธานสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามข้อ 15 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 โดยประธานที่ประชุมคราวนั้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุมเพื่อเลือกประธานสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง กรณีของ อบต. ประธานที่ประชุมคราวนั้น รายงานผลการเลือกประธานสภา อบต. แทนตำแหน่งที่ว่างต่อนายอำเภอ และเมื่อนายอำเภอแต่งตั้งประธานสภา อบต. แล้ว จึงมาดำเนินการเลือก รองประธานสภา อบต. แทนตำแหน่งที่ว่างต่อไป ซึ่งประธานสภา อบต. และรองประธานสภา อบต. จะปฏิบัติหน้าที่ได้เมื่อนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง
[ กม. : กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น ]

คำตอบ (2): ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 ได้กำหนดให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ อาจยื่นคำร้องต่อประธานสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดขอให้เปิดการประชุมสมัยวิสามัญได้ ดังนั้น พ.ร.บ. อบจ. มาตรา 25 จึงเป็นการยื่นคำร้องให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรียกประชุมสมัยวิสามัญ มิใช่การเสนอญัตติ เพราะการเสนอญัตติเป็นการเสนอเรื่องเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณา
[ กม. : กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น ]

คำตอบ (3): ญัตตินั้นสภาท้องถิ่นต้องพิจารณาเป็นรายญัตติไป แต่หากผู้บริหารท้องถิ่น เป็นผู้เสนอญัตติเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องเดียวกันก็จะนำมารวมเป็นญัตติเดียวกันก็ได้ เช่น ญัตติขอจ่ายขาดเงินสะสม อาจนำเอารายการจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ มารวมเป็นญัตติเดียวกันก็ได้
[ กม. : กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น ]

คำตอบ (4): การเบิกค่าเบี้ยประชุมกรรมการ กรณีกรรมการมอบหมายผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทน ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย จึงจะมีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุม และใช้หลักฐานการมอบหมายนั้น ประกอบการเบิกจ่ายเงินทั้งนี้ เป็นไปตาม พรฏ.ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2550
[ กตภ. : กลุ่มตรวจสอบภายใน ]

คำตอบ (5): ไม่ต้องจัดทำแบบ ปค.6 แต่ให้ระบุไว้ในแบบ ปค.1 หรือหนังสือนำส่งว่า"ไม่มีผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในจึงไม่ได้จัดทำแบบ ปค.6"
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (6): 3.1 กรณี อบต. และ ทต. ส่งแบบ ปค.1 แบบ ปค.4 แบบ ปค.5 และแบบ ปค.6 ให้นายอำเภอ โดยคณะกรรมการที่นายอำเภอจัดให้มีขึ้นจะรวบรวม และสรุปรายงานของ อปท. ระดับอำเภอ ส่งให้ สถจ. ภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ 3.2 กรณี ทม. ทน. และ อบจ. ส่งแบบ ปค.1 แบบ ปค.4 แบบ ปค.5 และแบบ ปค.6 ให้ สถจ. ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ กรณี อปท. ไม่มีผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในไม่ต้องส่งแบบ ปค.6 โดยให้ระบุไว้ในแบบ ปค.1 หรือหนังสือนำส่งว่า "ไม่มีผู้ตรวจสอบภายใน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายใน จึงไม่ได้จัดทำแบบ ปค.6"
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (7): สำนักปลัดควรเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ซึ่งเมื่อแต่ละสำนัก/กองประเมินผลระดับหน่วยงานของตนเองแล้ว คณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ฯ ข้อ 5 เป็นผู้มีหน้าที่ประเมินผลระดับ อปท.
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (8): ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถพิจารณาหรือมอบหมายผู้มีความรู้ ความสามารถให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในได้ ซึ่งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายดังกล่าว ก็จะปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ตรวจสอบภายใน
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (9): 1. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2557 ข้อ 8 กำหนดว่า การฝึกอบรมที่จัดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถเข้ารับการฝึกอบรมและเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบนี้ได้ ดังนั้น กรณีสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดทำโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงสามารถจัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมได้
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (10): สามารถนำสัญญาฉบับใหม่มาใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านได้ โดยเบิกได้ตามวงเงินและระยะเวลา ที่เหลืออยู่ของสัญญาฉบับแรก แต่หากวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาฉบับใหม่ต่ำกว่าที่เหลืออยู่ ของสัญญาฉบับแรก ก็เบิกได้ตามสัญญาฉบับใหม่
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (11): 1. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 14 กำหนดว่า กรณีข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้มีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ มาเบิกค่าเช่าบ้านได้ ดังนั้น กรณีดังกล่าว จึงไม่สามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อมาเบิก ค่าเช่าบ้านได้ 2. คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (12): ๑. สามารถดำเนินการ ดังนี้ ๑.๑ ดับเบิ้ลคลิก ?LTAX GIS_๒? หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook ๑.๒ คลิก ?Add Vector Layer? เลือก ?Encoding (TIS-๖๒๐ หรือ UTF-๘) ๑.๓ คลิก ?แสดง? ไปยังไฟล์ที่เก็บข้อมูลรูปแปลงที่ดินจากกรมที่ดิน ๑.๔ เลือกไฟล์รูปแปลงที่ดินหรือไฟล์ขอบเขต อปท. ที่ลงท้ายด้วย .shp ๑.๕ Copy ลิ้งด้านล่างไปวางที่ Google Chrome ช่อง URL เสร็จแล้ว Enter https://drive.google.com/file/d/1feP35jHLyoD8HiOifFXKqVn42c1QHcsR/view (ให้ดำเนินการตามลิ้งนี้ได้เลย)
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (13): ๑. อปท. จะต้องบันทึกข้อมูลในปีนั้นๆ ให้แล้วเสร็จ ๒. ไปที่เมนู ?การจัดการทั่วไป? เลือก ?บันทึกค่าตั้งต้นแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน? ใส่ปีในช่อง ?เพิ่มปีภาษี? แล้วกด ?+ เพิ่ม? ระบบจะแจ้งว่า ?ระบบจะถ่ายโอนข้อมูลพร้อมทั้งการตั้งค่าข้อมูลทั้งหมด ของปีที่ท่านต้องการไปยังปีที่ท่านต้องการเพิ่มข้อมูล? แล้วกด ?OK? ๓. เลือกปีของข้อมูลที่ต้องการถ่ายโอน (คือปีที่ผ่านมาแล้ว) คลิก ?ถ่ายโอนข้อมูล? รอจนกว่า ระบบจะประมวนผลแล้วเสร็จ (สังเกตช่องสถานะจะเป็นสีเขียว) ทั้ง ๔ ประเภท ๔. ไปที่เมนู ?แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน? เลือก ?บันทึกและค้นคืนข้อมูลทรัพย์สิน (ที่ดิน,โรงเรือน,ป้าย.ใบอนุญาต) ? คลิก ?ค้นหาข้อมูล? ใส่ชื่อเจ้าของที่ดิน กด ?ค้นหา? เสร็จแล้วคลิกที่ชื่อเจ้าของที่ดิน ๕. คลิก ?รหัสแปลงที่ดิน? ทีละแปลง ๖. คลิก ?คำนวณภาษี? กด ?บันทึก? เสร็จแล้วกด ?บันทึก? อีกครั้ง แล้วกด ?OK? เพื่อจัดเก็บข้อมูล (ทำเฉพาะข้อมูลที่ดินเท่านั้น ทุกรายที่เสียภาษี ส่วนข้อมูลโรงเรือน,ป้าย.ใบอนุญาตข้อมูลจะโอนไปอัตโนมัติ) ๗. ตรวจสอบข้อมูลที่ดินว่าโอนได้หรือไม่ คลิก ?การจัดเก็บรายได้? คลิก ?ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.๕)? ค้นหาข้อมูลการยื่นแบบแสดงรายการแปลงที่ดิน ใส่ชื่อย่อ เช่น ก กดค้นหา เสร็จแล้วคลิกเครื่องหมายถูกที่ช่อง ทุกแปลง แล้วกด ?จัดเก็บข้อมูล?
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (14): - เครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook นั้นได้มีการอัพเดท (Update) Mozilla Firefox จากเวอร์ชั่น ๔๕.๐.๑ ที่ให้ไปพร้อมโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX ๓๐๐๐)
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (15): ๑. หลังจากที่ได้ดำเนินการติดตั้งโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX ๓๐๐๐) จะต้องดำเนินการถอดรหัสผ่าน (License) เครื่องนั้นก่อน ดังนี้ ๑.๑ ติดตั้งโปรแกรม Genlicense (Copy ไฟล์ Genlicense มาวางที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook) ๑.๒ ดับเบิ้ลคลิก Genlicense (โปรแกรมจะขึ้นรหัสเครื่องให้) Copy รหัสเครื่องทั้งหมดมาวางช่อง CODE (ช่องที่ ๒) กด ?ถอดรหัส? รหัสผ่าน (License) จะขึ้นช่องที่ ๓ (LICENSE) ๑.๓ Copy รหัสผ่าน (License) ช่องที่ ๓ (LICENSE) มาวางในช่องของโปรแกรมแผนที่ภาษีและ ทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX ๓๐๐๐) แล้วกด ?บันทึก?
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (16): ๑. อปท. ที่ได้ติดตั้ง Antivirus เช่น Avast, Kaspersky, ESET NOD๓๒ จะต้องดำเนินการปิดชั่วคราว หรือ ถอน (Uninstall) ก่อนที่จะติดตั้งโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX ๓๐๐๐) ๒. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook เป็น Windows ๑๐ ให้ตรวจสอบ Microsoft .NET ก่อนว่าได้ดำเนินการติดตั้งที่เครื่องหรือยัง ถ้ายังไม่ติดตั้งให้ดำเนินการติดตั้งก่อนที่จะติดตั้งโปรแกรม แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX ๓๐๐๐) ดังนี้ ๒.๑ เชื่อมอินเตอร์เน็ต ๒.๒ คลิก Control Panel ๒.๓ คลิก Uninstall a program หรือ Programs and Features ๒.๔ คลิก Turn Windows features on or off แล้วคลิกที่ช่อง Microsoft .NET กด OK รอเครื่องประมวนผล ๒.๕ คลิก Download กด OK รอจนกว่าเครื่องจะประมวนผลเสร็จ แล้ว Restart
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (17): ๑. การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ของ อปท. เป็นเรื่องที่ อปท. ต้องถือปฎิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ (มาตรา ๖๗) และระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๑ (ข้อ ๒๕) ซึ่งกำหนดให้ อปท. ต้องส่งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ ให้แก่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นรายไตรมาสตามแบบที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกำหนด ๒. อปท. ต้องเข้าไปที่ info.dla.go.th โดยใช้ username/password ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดให้เพื่อเข้าสู่ระบบ ในเมนูรายงานเกี่ยวกับหนี้ ให้กดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ของ อปท. (ทั้งที่มีการ กู้เงินจากทุกแหล่งเงินกู้ และที่ไม่มีการกู้เงิน) จากนั้นให้ออกไปที่เมนูรายงานข้อมูลการกู้เงินและสถานะ หนี้คงค้างของ อปท. เพื่อออกรายงานเป็นรูปแบบไฟล์ Excel ส่งให้ สบน. ต่อไป (ในส่วนของ สถ. จะได้รับข้อมูลจากการบันทึกลงในระบบ Info แล้ว) ซึ่ง อปท.จะต้องบันทึกข้อมูลดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคมและตุลาคมของทุกปี (หนังสือ สถ. ด่วนมาก ที่ มท ๐๘๐๘.๓/ว ๑๕๖ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒) ๓. ข้อมูลตามข้อ ๒ จะถูกนำไปวิเคราะห์สถานะการคลังของ อปท. เพื่อประกอบการพิจารณา ขอกู้เงินเพิ่มเติมของ อปท. ในครั้งต่อไป และเผยแพร่เป็นภาพรวมเกี่ยวกับหนี้ของ อปท. ในเว็บไซต์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ต่อไป
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (18): PMQA 4.0 คือ เครื่องมือประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 ให้กับหน่วยงานภาครัฐได้นำไปใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการยกระดับการบริหารจัดการองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0 โดยเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ซึ่งเห็นชอบข้อเสนอหลักการ มาตรการ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพิ่มเติม ตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แผนการดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ เพื่อเป็นการยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยได้มีการกำหนดมิติในการพิจารณาจำนวน 3 มิติ 6 หมวด ดังนี้ มิติที่ 1 ภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน - หมวด 1 การนำองค์การ - หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ - หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ - หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มิติที่ 2 การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง - หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย - หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร - หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มิติที่ 3 มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย - หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธศาสตร์ - หมวด 5 การมุ่งเน้บุคลากร - หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (19): แนวคิดและวิธีการทำงานของภาครัฐรูปแบบใหม่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความโปร่งใส ทันสมัยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยมีหลักการดังนี้ (1) การเปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) คือ ระบบราชการจะต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ให้ภาคส่วนอื่น สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบการทำงานของราชการ พร้อมเปิดโอกาสให้แต่ละภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม (2) การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) ภาครัฐจะต้องทำงานเชิงรุกเพื่อจัดหาและให้บริการที่ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมจัดตั้งศูนย์บริการแบบ One Stop Service เพื่อให้บริการกับประชาชนเสร็จสิ้นในจุดเดียวและมีความรวดเร็ว (3) การมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) ภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนตนเองได้ตลอดเวลา มีการเตรียมการล่วงหน้า รวมถึงการสร้างข้าราชการให้มีสมรรถนะสูง มีแนวทางการรักษาข้าราชการรุ่นใหม่ให้มีความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ (1) การสานพลังระหว่างรัฐและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม (Collaboration) ในรูปแบบประชารัฐ (2) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) คิดค้นและแสวงหาวิธีการใหม่ๆ (3) การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization / Digitalization) เพื่อบริการประชาชนได้สะดวก ปลอดภัย และประหยัด ตอบสนองความต้องการ ได้รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (20): ในเรื่องของ"แผนพัฒนาท้องถิ่น" จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือ "ส่วนแผนพัฒนาท้องถิ่น กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น" ไม่ใช่กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ซึ่งจะรับผิดชอบในเรื่องของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่ใช่ "แผนพัมนาท้องถิ่น"
[ กยผ. : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ]



  • 99,719,021
  • 4,551