หลักการและเหตุผล |
|
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเด็นการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่น ซึ่งจะยกเลิกพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วรวบรวมกฎหมายจัดตั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัดดังกล่าวข้างต้น ไว้ในฉบับเดียวกันเพื่อสะดวกต่อการอ้างอิงและบังคับใช้กฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น จะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และภาคประชาชนประกอบการจัดทำ
ร่างกฎหมาย และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้าน (Regulatory Impact Analysis) รวมถึงเผยแพร่การจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย ตามมาตรา 77
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
|
คำชี้แจง :
- 1. แบบสอบถามความคิดเห็น แบ่งเป็น 4 ส่วน ตามลำดับ ดังนี้
- ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
- ส่วนที่ 2 ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ส่วนที่ 3 ร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
- 2.
เห็นด้วย หมายความว่า หลักกฎหมายที่กำหนดไว้ในร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ได้วางหลักการไว้ดีอยู่แล้ว ไม่ควรแก้ไข
-
ไม่เห็นด้วย หมายความว่า หลักกฎหมายที่กำหนดไว้ในร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ควรมีการแก้ไข
- 3. ให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลประกอบความเห็นด้วยทุกข้อ
|
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม |
1. เพศ |
|
ชาย
หญิง
|
|
2. อายุ |
|
น้อยกว่า 20 ปี |
|
20 - 30 ปี |
|
31 - 40 ปี |
|
41 - 50 ปี |
|
51 - 60 ปี |
|
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป |
3. ระดับการศึกษา |
|
ต่ำกว่ามัธยมศึกษา |
|
มัธยมศึกษา/ปวช./ปวส. |
|
ปริญญาตรี |
|
สูงกว่าปริญญาตรี |
|
ไม่ระบุ |
4. อาชีพ |
|
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ |
|
พนักงานเอกชน |
|
รับจ้างทั่วไป |
|
ค้าขาย |
|
อาชีพอิสระ |
|
นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา |
|
อื่นๆ |
|
|
ส่วนที่ 2 ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
(โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งระบุเหตุผลประกอบ) |
|
(1) ท่านเห็นด้วยที่จะให้ยกเลิกกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือไม่
เหตุผลประกอบ 1. กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบต. อบจ.) มีหลายฉบับ อันทำให้เกิดความสับสนในการใช้บังคับกฎหมายแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหลายรูปแบบ เห็นสมควรรวบรวมกฎหมายดังกล่าว โดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป โดยให้รวมอยู่ในฉบับเดียวกันเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. ปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับบริบทและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|
|
(2) ท่านเห็นด้วยที่จะให้คงรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5,333 แห่ง เหมือนเดิมตามกฎหมายว่าด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือไม่
เหตุผลประกอบ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ของตนที่สามารถดูแลประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|
ส่วนที่ 3 ร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งระบุเหตุผลประกอบ) |
|
(1) ท่านเห็นด้วยที่จะให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน (จังหวัด) คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง (พื้นที่) คือ องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล โดยเทศบาลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร หรือไม่
เหตุผลประกอบ คงหลักการให้มีระบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ชั้น เช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบในภาพรวมของจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ มีเหตุผลความจำเป็นที่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบในระดับจังหวัด ดังนี้
- 1. การจัดบริการสาธารณะในภาพรวมของทั้งจังหวัด
- 2. ภารกิจตามอำนาจหน้าที่ที่มีความคาบเกี่ยวในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป
- 3. จัดทำแผนงานโครงการขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก
- 4. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก
- 5. ส่วนเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบในระดับพื้นที่ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลแต่ละประเภทจะได้รับการจัดสรรรายได้และเงินอุดหนุนที่เท่าเทียมกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้อย่างมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|
|
(2) ท่านเห็นด้วยที่จะให้มีการรวมเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดด้านการจัดเก็บรายได้และการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นเข้าด้วยกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดทำแผนการรวมเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลบังคับใช้ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์การรวมเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย
- 1. รายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมา
- 2. จำนวนประชากร
- 3. ความหนาแน่นของประชากร และ
- 4. พื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ กำหนดให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่อยู่ในข่ายตามหลักเกณฑ์การรวมที่กำหนดไว้จะต้องดำเนินการรวมภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรวมแล้วภายใน 3 ปีงบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรและการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น หรือไม่
เหตุผลประกอบ 1. การรวมมีความจำเป็นสำหรับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กที่ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งกฎหมายปัจจุบันได้มีการกำหนดเรื่องการรวมไว้อยู่แล้ว แต่เป็นการรวมกันโดยความสมัครใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. การรวมเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีผลกระทบในเรื่องการบริหารงานบุคคล โดยเฉพาะบุคลากรฝ่ายประจำซึ่งจะต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อลดปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งโดยเฉพาะในสายงานผู้บริหารและอำนวยการท้องถิ่น
3. จะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายฝ่ายการเมืองที่มีอยู่สูง เพื่อนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปเป็นงบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในการจัดบริการสาธารณะที่จำเป็นอย่างอื่นได้
4. เหตุผลตามข้อ 2 - 3 จะต้องกำหนดไว้ในแผนการรวมเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะมีความยืดหยุ่นและมีขั้นตอน ซึ่งต้องศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านประกอบด้วย
5. การรวมเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กที่มีจำนวนประชากรน้อยและมีรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนน้อย แต่มีรายจ่ายประจำมาก จะทำให้มีขนาดของประชากรที่เหมาะสม รวมถึง มีรายได้เพื่อรองรับการจัดบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น และครอบคลุมหลายภารกิจที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กไม่มีศักยภาพในการดำเนินการอันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|
|
(3) ท่านเห็นด้วยที่จะให้มีจำนวนสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล) ดังนี้
- 1. กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาจากหมู่บ้านละ 1 คน โดยอย่างน้อยองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่งมีสมาชิกขั้นต่ำ 6 คน
- 2. กำหนดประเภทของเทศบาลไว้ 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
- 3. เทศบาลตำบล กรณีมีประชากรไม่เกิน 7,000 คน ให้มีสมาชิก 12 คน กรณีประชากรเกิน 7,000 คน แต่ไม่เกิน 15,000 คน ให้มีสมาชิก 15 คน
- 4. เทศบาลเมือง กรณีมีประชากรเกิน 15,000 คน แต่ไม่เกิน 32,500 คน ให้มีสมาชิก 18 คน กรณีมีประชากรเกิน 32,500 คน แต่ไม่เกิน 50,000 คน ให้มีสมาชิก 21 คน เทศบาลที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดมีประชากรไม่ถึง 15,000 คน ให้มีสมาชิกไม่เกิน 18 คน
- 5. เทศบาลนคร กรณีมีประชากรเกิน 50,000 คน แต่ไม่เกิน 100,000 คน ให้มีสมาชิก 24 คน กรณีมีประชากรเกิน 100,000 คนขึ้นไป ให้มีสมาชิก 27 คน ทั้งนี้ ในแต่ละเขตเลือกตั้งของเทศบาลทั้ง 3 ประเภทให้มีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนสามคน
เหตุผลประกอบ 1. จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ลดลงจากหมู่บ้านละ 2 คน เหลือหมู่บ้านละ 1 คน จะทำให้ประหยัดงบประมาณรายจ่ายประจำลงได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำงบประมาณในส่วนนี้ไปพัฒนาพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง เพื่อจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. กำหนดให้จำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนครเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรโดยแบ่งให้มีเขตเลือกตั้งของเทศบาลทั้ง 3 ประเภทใหม่ เพื่อให้สามารถดูแลและตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งได้ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|
|
(4) ท่านเห็นด้วยที่จะให้มีจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้
- 1. เนื่องจากในร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกำหนดหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาลให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงกำหนดให้ลดลงในแต่ละช่วงชั้นของจำนวนประชากรในเขตจังหวัด โดยลดลงช่วงชั้นละ 6 คน (ตั้งแต่ 18 ถึง 42 คน)
- 2. หน้าที่ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ควรเป็นหน้าที่โดยตรงของสมาชิกสภาเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่รับผิดชอบในเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลอยู่แล้ว ดังนั้น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ควรจะต้องลงมาดูแลประชาชนในพื้นที่อีก เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการดูแลประชาชนระหว่างเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งโดยข้อเท็จจริงสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดควรทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และการให้คำแนะนำ ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดในระดับจังหวัด หรือไม่
เหตุผลประกอบ (1) หน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลได้กำหนดให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนในภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทแล้ว ดังนั้น จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ควรมีมากเกินความจำเป็น
(2) ลดภาระค่าใช้จ่ายประจำในสัดส่วนของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งจะทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนำงบประมาณรายจ่ายประจำในส่วนนี้ไปเป็นงบประมาณเพื่อจัดทำบริการสาธารณะและที่เกินศักยภาพของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในภาพรวมของจังหวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|
|
(5) ท่านเห็นด้วยที่จะให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และให้ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดกันไม่ได้ การพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ เว้นแต่เป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือไม่
เหตุผลประกอบ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถได้มีโอกาสเข้ามาเป็นผู้บริหารท้องถิ่น และไม่เป็นการผูกขาดอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นอีกต่อไป และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 252 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ซึ่งไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และเป็นรูปแบบที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการถ่วงดุลระหว่างผู้บริหารท้องถิ่นกับสภาท้องถิ่น
|
|
เห็นด้วย |
|
ไม่เห็นด้วย |
|
เพราะเหตุใด |
|
|