การเงิน/การคลัง

     จำนวนรายการต่อหน้า

คำตอบ (1): การเบิกค่าเบี้ยประชุมกรรมการ กรณีกรรมการมอบหมายผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทน ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย จึงจะมีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุม และใช้หลักฐานการมอบหมายนั้น ประกอบการเบิกจ่ายเงินทั้งนี้ เป็นไปตาม พรฏ.ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2550
[ กตภ. : กลุ่มตรวจสอบภายใน ]

คำตอบ (2): ไม่ต้องจัดทำแบบ ปค.6 แต่ให้ระบุไว้ในแบบ ปค.1 หรือหนังสือนำส่งว่า"ไม่มีผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในจึงไม่ได้จัดทำแบบ ปค.6"
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (3): 3.1 กรณี อบต. และ ทต. ส่งแบบ ปค.1 แบบ ปค.4 แบบ ปค.5 และแบบ ปค.6 ให้นายอำเภอ โดยคณะกรรมการที่นายอำเภอจัดให้มีขึ้นจะรวบรวม และสรุปรายงานของ อปท. ระดับอำเภอ ส่งให้ สถจ. ภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ 3.2 กรณี ทม. ทน. และ อบจ. ส่งแบบ ปค.1 แบบ ปค.4 แบบ ปค.5 และแบบ ปค.6 ให้ สถจ. ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ กรณี อปท. ไม่มีผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในไม่ต้องส่งแบบ ปค.6 โดยให้ระบุไว้ในแบบ ปค.1 หรือหนังสือนำส่งว่า "ไม่มีผู้ตรวจสอบภายใน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายใน จึงไม่ได้จัดทำแบบ ปค.6"
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (4): สำนักปลัดควรเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ ซึ่งเมื่อแต่ละสำนัก/กองประเมินผลระดับหน่วยงานของตนเองแล้ว คณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ฯ ข้อ 5 เป็นผู้มีหน้าที่ประเมินผลระดับ อปท.
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (5): ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถพิจารณาหรือมอบหมายผู้มีความรู้ ความสามารถให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในได้ ซึ่งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายดังกล่าว ก็จะปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ตรวจสอบภายใน
[ ตบ. : กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น ]

คำตอบ (6): 1. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2557 ข้อ 8 กำหนดว่า การฝึกอบรมที่จัดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถเข้ารับการฝึกอบรมและเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบนี้ได้ ดังนั้น กรณีสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดทำโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงสามารถจัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมได้
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (7): สามารถนำสัญญาฉบับใหม่มาใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านได้ โดยเบิกได้ตามวงเงินและระยะเวลา ที่เหลืออยู่ของสัญญาฉบับแรก แต่หากวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาฉบับใหม่ต่ำกว่าที่เหลืออยู่ ของสัญญาฉบับแรก ก็เบิกได้ตามสัญญาฉบับใหม่
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (8): 1. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 14 กำหนดว่า กรณีข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้มีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ มาเบิกค่าเช่าบ้านได้ ดังนั้น กรณีดังกล่าว จึงไม่สามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อมาเบิก ค่าเช่าบ้านได้ 2. คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (9): ให้ อปท. เข้าไปในเมนูการใช้งานการบริหารระบบ > การจัดการสิทธิผู้ใช้งาน > กลุ่มผู้ใช้ กดปุ่มตุ๊กตาที่กลุ่มผู้ใช้งาน จากนั้นกดปุ่ม ?เพิ่มผู้ใช้งานเข้ากลุ่ม? คลิกเครื่องหมายถูกหน้าผู้ใช้งาน และกดปุ่ม ?เลือกผู้ใช้งานระบบ? login ดูว่าเข้าใช้งานได้หรือไม่
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (10): คำตอบตามไฟล์แนบ แสดงรูปภาพประกอบรายละเอียด
แสดงรูปภาพประกอบรายละเอียด
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (11): ในการประชุมคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๘/๒๕๖๑ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ได้พิจารณาและมีความเห็นดังนี้ ๑. เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพราะเห็นว่าผิดต่อเจตนารมณ์ของกฎมายที่ประสงค์ให้มีบำเหน็จตกทอดไปยังทายาท จึงไม่สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๐๐ ๒. หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับกลุ่มข้าราชการส่วนท้องถิ่นในประเด็นดังกล่าว ก็ชอบที่จะให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้วยวิธีการอื่น เช่น การขอความร่วมมือสถาบันการเงินของรัฐต่างๆ พิจารณาสนับสนุนการให้เงินกู้แก่ข้าราชการบำนาญเป็นกรณีพิเศษ ๓. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างข้าราชการทุกประเภท รัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับบำเหน็จตกทอดให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องดังกล่าวตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) โดยไม่มีผลย้อนหลังไปบังคับแก่ข้าราชการบำนาญที่ได้ดำเนินการในกรณีดังกล่าวไปก่อนแล้ว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำถาม 12 : อยากทราบว่า อบต. สามารถตั้งงบประมาณให้เงินอุดหนุนแก่ รร. ในสังกัด สพฐ. ได้หรือไม่ ตอนนี้ รร. ได้ส่งโครงการขอรับการสนับสนุน จำนวน 2 โครงการ เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาสามปี ได้แก่ 1. โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (เป็นการจ้างครูช่วยสอน) เป็นค่าจ้างจำนวน 143,040 บาท และเป็นเงินประกันสังคมจำนวน 7,152 บาท จำนวน 1 คน 1 ปี การศึกษา รวม 150,192 บาท 2. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานที่ (เป็นการทัศนศึกษาดูงานจากสถานที่จริง) เป็นค่าอาหาร 6,000 บาท ค่ารถ 30,000 บาท ค่าเข้าชมสถานที่ 4,000 บาท รวม 40,000 บาท อยากทราบว่าจากโครงการดังกล่าว อบต. สามารถตั้งงบประมาณอุดหนุนให้กับ รร. ได้หรือไม่ ถ้าตั้งให้ได้ต้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กระจายอำนาจฯ ตาม ว.74 หรือไม่ และต้องขอให้ทาง สพฐ. ยืนยันด้วยหรือไม่ว่าไม่มีงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ขอความกรุณาทางกรมฯ ได้ตอบเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานด้วยค่ะ เนื่องจากมี อปท. หลายแห่งได้ตั้งงบประมาณให้กับโรงเรียนในลักษณะนี้ไปหลายแห่งแล้ว อยากทราบว่า อปท. ควรดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ new

คำตอบ (12): อปท. ต้องพิจารณาว่า เป็นไปตามอำนาจหน้าที่หรือไม่ก่อน ตั้งงบประมาณอุดหนุนนั้นสอดคล้องตามมาตรา 4 แห่ง พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (13): ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2557 ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้มีการปรับอัตราค่าใช้จ่ายเท่ากับกระทรวงการคลังแล้ว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (14): ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 กำหนดกรณีผู้บริหารท้องถิ่นจะใช้รถยนต์ส่วนตัวไปราชการต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (15): ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กับที่ดินต่อเนื่อง ซึ่งใช้ปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (16): จะแยกขออนุมัติเป็นรายบุคคลหรือจะให้หัวหน้าคณะหรือผู้ได้รับมอบหมายซึ่งร่วมเดินทางไปด้วยจัดทำใบเบิก ฯ แบบ 8708 รวมฉบับเดียวก็ได้กรณีเป็นรายบุคคลใช้ใบเบิก ฯ ส่วนที่ 1 กรณีเป็นหมู่คณะใช้ใบเบิก ฯ ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0530.4/ว1177 ลงวันที่ 11 มกราคม 2545 เรื่องแบบใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
[ กค. : กองคลัง ]

คำตอบ (17): กองคลังจะตอบเฉพาะกรณีหน่วยงานหรือข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด สถ. เท่านั้น ถ้าเป็นหน่วยงาน อปท. หรือข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น จะตอบคำถามเฉพาะเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) เท่านั้น นอกเหนือจากนี้ต้องสอบถามสำนักบริหารการคลังท้องถิ่น (สน.คท.) หรือหน่วยงานเจ้าของระเบียบ หรือหนังสือสั่งการนั้น ๆ โดยตรง
[ กค. : กองคลัง ]

คำตอบ (18): ป้ายที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ว่า ได้กำหนดเกี่ยวกับป้ายประเภทใดบ้าง ซึ่งกรณีของโรงเรียนเอกชนตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2510 ได้กำหนดให้ ?ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคำว่า ?โรงเรียน? ประกอบชื่อด้วย ในกรณีที่มีอักษรต่างประเทศกำกับ ต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรไทย ?วิทยาลัยอาชีวศึกษา? หรือ ?วิทยาลัยเทคโนโลยี? ประกอบชื่อแทนคำว่า ?โรงเรียน? ก็ได้ ดังนั้น กรณีโรงเรียนเอกชนที่จะได้รับการยกเว้นหมายถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเท่านั้น ซึ่งเทียบเคียงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2545
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (19): ตามมาตร 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดให้ป้ายภายในอาคารประกอบกิจการค้า หรือภายในอาคารซึ่งเป็นรโหฐาน และมีพื้นที่ของป้ายไม่เกินสามตารางเมตร ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 พ.ศ.2542 ออกตามความพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ให้ได้รับยกเว้นภาษีป้าย ดังนั้น ป้ายภายในอาคารที่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษีป้ายนั้น จะต้องไม่เป็นการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรับรู้หรือมีเจตนาให้บุคคลภายนอกมองเห็นถึงการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]

คำตอบ (20): ยกตัวอย่างของโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ของการประปานครหลวง ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท ๐๓๑๓.๕/ว ๑๗๗๑ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ซึ่งมีโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรอันเป็นส่วนควบของโรงเรือน ๑๑ รายการ คิดเป็นมูลค่ารวม ๓๗๙,๕๐๓,๕๐๙ บาท ได้แก่
๑) โรงสูบน้ำ
๒) ระบบเพิ่มปริมาณออกซิเจนและถังทิ้งตะกอน
๓) ถังตกตะกอนและถังกรองน้ำ
๔) โรงสูบจ่ายน้ำ
๕) REAGEN BUILDING
๖) ระบบจ่ายสารเคมี
๗) เครื่องผลิตน้ำปูนขาว
๘) ระบบจ่ายสารเคมี
๙) NORTHEMERGENCY DIESEL POWER UNIT
๑๐) SOUTH EMERGENCY DIESEL POWER UNIT
๑๑) โรงกำจัดน้ำเสีย
รายการดังกล่าวเป็นทรัพย์สิน ตาม พ.ร.บ.ฯ มาตรา ๑๓ ซึ่งโรงเรือนต่าง ๆ นั้นมีการติดตั้งเครื่องจักรกลอันเป็นส่วนควบที่สำคัญสำหรับการผลิตน้ำประปา และเป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งยึดติดกับโรงเรือน มีวิธีการคำนวณ ดังนี้
๑. คำนวณหาค่ารายปีเฉพาะโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ตาม พ.ร.บ.ฯ มาตรา ๘ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในกรณีนี้ไม่มีค่าเช่า และคณะกรรมการพิจารณาประเมินค่ารายปีได้พิจารณาโรงเรือนฯ ตามประเภท ลักษณะของทรัพย์สินและทำเลที่ตั้งทรัพย์สินและทำเลที่ตั้งของทรัพย์สิน (๑๐๖,๗๔๐.๔๘ ต.ร.ม.) ซึ่งจัดอยู่ในทำเลที่ ๑ ราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยตามรางเมตรละ ๗ บาท คิดเป็นค่ารายปีของส่วนโรงเรือนทั้งหมด ๗๔๗,๑๘๓.๓๖ บาท
๒. คำนวณหาค่ารายปีเฉพาะเครื่องจักรที่เป็นส่วนควบกับโรงเรือน โดยนำมูลค่าของเครื่องจักร ไปคำนวณหาผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสถาบันการเงินที่ให้ประโยชน์สูงสุด
๒.๑ เครื่องจักรได้ใช้ประโยชน์มาแล้ว ๕ ปี หักค่าเสื่อมราคาตามสภาพร้อยละ ๕๐ คิดเป็นมูลค่าจริงได้ ๑๘๙,๗๕๑,๗๕๔.๕๐ บาท (๓๗๙,๕๐๓,๕๐๙ บาท X ๕๐/๑๐๐)
๒.๒ ค่ารายปีของเครื่องจักร เท่ากับ มูลค่าของเครื่องจักรนำไปคิดประโยชน์ตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากสถาบันการเงิน ร้อยละ ๕ ซึ่งเท่ากับจำนวนเงิน ๙,๔๘๗,๕๘๗.๗๒ บาท (๑๘๙,๗๕๑.๗๒ บาท (๑๘๙,๗๕๑,๗๕๔.๕๐ บาท X ๕/๑๐๐)
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น ]


first previous ข้อมูลที่ 1 - 20 จาก 38 next last

  • 99,720,482
  • 6,012