การพัฒนาระบบราชการ

     จำนวนรายการต่อหน้า

คำตอบ (1): PMQA 4.0 คือ เครื่องมือประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 ให้กับหน่วยงานภาครัฐได้นำไปใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการยกระดับการบริหารจัดการองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0 โดยเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ซึ่งเห็นชอบข้อเสนอหลักการ มาตรการ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพิ่มเติม ตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แผนการดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ เพื่อเป็นการยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยได้มีการกำหนดมิติในการพิจารณาจำนวน 3 มิติ 6 หมวด ดังนี้ มิติที่ 1 ภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน - หมวด 1 การนำองค์การ - หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ - หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ - หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มิติที่ 2 การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง - หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย - หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร - หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ มิติที่ 3 มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย - หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธศาสตร์ - หมวด 5 การมุ่งเน้บุคลากร - หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (2): แนวคิดและวิธีการทำงานของภาครัฐรูปแบบใหม่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความโปร่งใส ทันสมัยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยมีหลักการดังนี้ (1) การเปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) คือ ระบบราชการจะต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ให้ภาคส่วนอื่น สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบการทำงานของราชการ พร้อมเปิดโอกาสให้แต่ละภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม (2) การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) ภาครัฐจะต้องทำงานเชิงรุกเพื่อจัดหาและให้บริการที่ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมจัดตั้งศูนย์บริการแบบ One Stop Service เพื่อให้บริการกับประชาชนเสร็จสิ้นในจุดเดียวและมีความรวดเร็ว (3) การมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) ภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนตนเองได้ตลอดเวลา มีการเตรียมการล่วงหน้า รวมถึงการสร้างข้าราชการให้มีสมรรถนะสูง มีแนวทางการรักษาข้าราชการรุ่นใหม่ให้มีความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ (1) การสานพลังระหว่างรัฐและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม (Collaboration) ในรูปแบบประชารัฐ (2) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) คิดค้นและแสวงหาวิธีการใหม่ๆ (3) การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization / Digitalization) เพื่อบริการประชาชนได้สะดวก ปลอดภัย และประหยัด ตอบสนองความต้องการ ได้รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (3): สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทบทวนและจัดทำหลักเกณฑ์ PMQA ระดับพื้นฐาน ฉบับที่ 2 และหลักเกณฑ์ PMQA พ.ศ.2558 ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ได้มีมติเห็นชอบให้นำเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ ไปใช้ตรวจ Certified FL และระดับรางวัลคุณภาพ (PMQA Award) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สถ. ได้สมัครเข้ารับการตรวจ Certified FL ฉบับที่ 2 เรียบร้อยแล้ว โดยมีกำหนดรับการตรวจฯ ในวันที่ 28 มีนาคม 2561
แสดงรูปภาพประกอบรายละเอียด
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (4): ส่วนราชการไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนนได้ ตามระบบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการได้ เนื่องจากเป็นการประเมินฯ แบบ Top-down ไม่มีการเจรจาเหมือนในระบบคำรับรองการปฏิบัติราชการ
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (5): การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ มีที่มาและหลักการ ดังนี้ 1. หัวหน้าคสช. มีคำสั่งที่ 5/2559 ลงวันที่ 1 ก.พ. 59 เรื่องมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยกำหนดให้มาตรการประเมินส่วนราชการและข้าราชการพลเรือนในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร ซึ่งผู้รับการประเมินได้แก่ ส่วนราชการระดับกรม กระทรวง และข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูง ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ใช้การประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ แทนการใช้ระบบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ตั้งแต่งบประมาณ พ.ศ. 2560 2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ ดังนี้ -องค์ประกอบที่ 1 (Function Based) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นฐาน งานประจำ งานตามหน้าที่ปกติ งานตามกฎหมาย กฎ นโยบายของรัฐบาล -องค์ประกอบที่ 2 (Agenda based) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจยุทธศาสตร์ แนวทางปฏิรูปภาครัฐ นโยบายเร่งด่วน หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ -องค์ประกอบที่ 3 (Area base) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด -องค์ประกอบที่ 4 (Innovation Base) ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมในการบริหารจัดการระบบงาน งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และการให้บริการประชาชนหรือหน่วยงานภาครัฐเพื่อสู่ระบบราชการ 4.0 -องค์ประกอบที่ 5 ศักยภาพในการดำเนินการของส่วนราชการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3. สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดกรอบระยะเวลาในการประเมินไว้ 2 รอบการประเมิน โดยแบ่งเป็นรอบ 6 เดือน และ 12 เดือน
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (6): กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ก.พ.ร. สถ.) มีหน้าที่หลักตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2551 ในการพัฒนาการบริหารงานของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และส่วนราชการในกรม
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (7): หากส่วนราชการได้ดำเนินการติดตามประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการทั้งระบบส่วนราชการและระดับสำนัก/กองแล้วจะเห็นได้ว่ามีวิสัยทัศน์และพันธกิจเป็นตัวกำกับหลัก ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติแล้ว แผนงานโครงการต่าง ๆ ก็ต้องเป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ดังนั้นผู้ที่มารับงานต่อก็จะสามารถเข้าใจระบบต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าต้องงการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือวิธีการทำงานก็จะไม่แตกต่างไปจากสิ่งที่ได้ดำเนินงานมาแล้วอย่างเป็นระบบ
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (8):            การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
(PublicSectorManagementQualityAward:PMQA) เป็นกรอบการบริหารจัดการองค์การ ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยดำเนินการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (Malcolm Baldrige National Quality Award :MBNQA) และรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand Quality Award :TQA) ที่มุ่งเน้นให้องค์กรทุกระดับหันมาใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพขององค์กร ตลอดจนมุ่งสู่ความเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ
      เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) จัดทำขึ้นโดยอาศัยค่านิยมหลัก 11 ประการ ซึ่งมาจากความเชื่อและพฤติกรรมขององค์กรที่มีผลต่อการดำเนินการที่ดีหลายแห่ง ได้แก่
(1) การนำองค์การอย่างมีวิสัยทัศน์ (2) ความรับผิดชอบต่อสังคม (3) การให้ความสำคัญกับบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้รับบริการ (5) การมุ่งเน้นอนาคต (6) ความคล่องตัว (7) การเรียนรู้ขององค์กรและแต่ละบุคคล (8) การจัดการเพื่อนวัตกรรม (9) การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (10) การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า (11) มุมมองในเชิงระบบ เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) จึงเป็นเกณฑ์ที่องค์กรใช้ประเมินตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยให้ความสำคัญกับหลักการบริหารจัดการ 7 เรื่อง หรือ 7 หมวดด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย
     หมวด 1 : การนำองค์การ เป็นการประเมินการดำเนินการของผู้บริหารในเรื่องวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม ความคาดหวังในผลการดำเนินการ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ในส่วนราชการ การกำกับดูแลตนเองที่ดี และดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
     หมวด 2: การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
      เป็นการประเมินวิธีการกำหนดและถ่ายทอดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หลัก และแผนปฏิบัติราชการ เพื่อนำไปปฏิบัติและวัดผลความก้าวหน้าของการดำเนินการ
     หมวด 3: การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เป็นการประเมินการกำหนดความต้องการ ความคาดหวัง และความนิยมชมชอบ การสร้างความสัมพันธ์ และการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจ
     หมวด 4: การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
เป็นการประเมินการเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลและสารสนเทศ และการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การ
     หมวด 5: การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล เป็นการประเมินระบบงาน ระบบการเรียนรู้ การสร้างความผาสุกและแรงจูงใจ ของบุคลากรเพื่อให้บุคลากรพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ตามทิศทางองค์การ
      หมวด 6: การจัดการกระบวนการ
เป็นการประเมินการจัดการกระบวนการ การให้บริการ และกระบวนการอื่นที่ช่วยสร้างคุณค่า แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกระบวนการสนับสนุน เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์การ
     หมวด 7: ผลลัพธ์การดำเนินการ
เป็นการประเมินผลการดำเนินการและแนวโน้มของส่วนราชการในมิติด้านประสิทธิผล มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านการพัฒนาองค์การ
     ภายหลังจากการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามเกณฑ์ฯ แล้ว องค์กรจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึง จุดแข็ง และโอกาสในการปรับปรุงองค์กร (Opportunities for Improvement : OFIs) เพื่อนำไปจัดลำดับความสำคัญในการปรับปรุงองค์กรได้ต่อไป ซึ่งในขั้นตอนของการปรับปรุงองค์กรนั้น เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ไม่ได้กำหนดตายตัวให้ใช้เครื่องมือบริหารจัดการใดในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการขององค์กร องค์กรสามารถเลือกเครื่องมือเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับโอกาสในการปรับปรุงที่ต้องการปรับปรุงได้
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (9): รูปภาพประกอบคลิกที่รายละเอียด
แสดงรูปภาพประกอบรายละเอียด
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]

คำตอบ (10): สำนักงาน ก.พ.ร.ได้นำ PMQA มาใช้เป็นตัวชี้วัดกับหน่วยงานราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ในปี 2552 ได้พัฒนาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level : FL) ซึ่งเป็นแนวคิด การปรับปรุงทีละขั้น ได้วางแนวทางดำเนินการพัฒนาองค์การ (PMQA Roadmap) ให้ผ่านเกณฑ์ฯ ปีละ 2 หมวดสำหรับกรมและจังหวัด และปีละ 3 หมวด สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
สำหรับการดำเนินการขั้นต่อไปเมื่อส่วนราชการดำเนินการพัฒนาองค์การครบทุกหมวดและผ่านการรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified Fundamental: FL) แล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. จะส่งเสริมให้ส่วนราชการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL)และเมื่อส่วนราชการสามารถดำเนินการผ่านเกณฑ์ฯระดับก้าวหน้า และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าสากลตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อไป
รูปภาพประกอบคลิกที่รายละเอียด
แสดงรูปภาพประกอบรายละเอียด
[ กพร. : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ]


first previous ข้อมูลที่ 1 - 10 จาก 10 next last

  • 99,720,068
  • 5,598