แบบสอบถามความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....

สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
(ฉบับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)


          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... โดยเฉพาะประเด็นที่กำหนดให้มีการปฏิรูปและหลักการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังต่อไปนี้
          (1) บททั่วไป
                    1) การจัดระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่นต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจท้องถิ่น และสอดคล้องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นและของรัฐ
                    2) บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการเทศบาล ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการเมืองพัทยา ซึ่งเดิมกำหนดเป็นตำแหน่งพนักงานเทศบาล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานเมืองพัทยา
                    3) บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ ก.ถ. ในการออกกฎ ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ สวัสดิการ ประโยชน์ตอบแทนอื่น บำเหน็จ บำนาญ เครื่องแบบข้าราชการ วันหยุดราชการ ให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างและพนักงานจ้าง
                    4) บัญญัติให้การจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และค่าจ้างของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง นั้น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายจากเงินรายได้ที่นำมาตราเป็นงบประมาณรายจ่ายโดยจะกำหนดสูงกว่าร้อยละสี่สิบของงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้ โดยรายได้ให้คำนวณตามวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ยกเว้นเงินอุดหนุนตามภารกิจถ่ายโอนและเงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรเป็นเงินเดือน ค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          (2) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
          บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเพียงคณะเดียว เรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) องค์คณะมีลักษณะไตรภาคีจำนวนยี่สิบสี่คน ประกอบด้วย
                    1) ผู้แทนส่วนราชการจำนวนแปดคน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น และรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
                    2) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนแปดคน ได้แก่ (๑) ผู้แทนผู้บริหาร ท้องถิ่นจำนวนสี่คน คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคนนายกเทศมนตรีหนึ่งคน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งคน และนายกหรือผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งหนึ่งคน (๒) ผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นจำนวนสี่คน คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน ข้าราชการเทศบาลหนึ่งคน ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งคน และข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งหนึ่งคน
                    3) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย และด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
          โดยให้ ก.ถ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ ออกกฎ ก.ถ. ประกาศ และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลทั้งกระบวนการ พัฒนาข้าราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการสรรหาข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือกและคัดเลือกตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น ตำแหน่ง กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้มีสำนักงาน ก.ถ. ตั้งอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ในหน้าที่ของ ก.ถ.
          กรณีการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นในระดับทุกจังหวัดให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัด (อ.ก.ถ.จังหวัด)มีฐานะเป็นคณะอนุกรรมของ ก.ถ. องค์คณะมีลักษณะไตรภาคี จำนวนสิบแปดคน ประกอบด้วย
                    1) ผู้แทนส่วนราชการจำนวนหกคน ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นประธาน ผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด จำนวนสี่คน โดยหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
                    2) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหกคน ได้แก่ (1) ผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่นจำนวนสามคน คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคนนายกเทศมนตรีหนึ่งคน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งคน (2) ผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามคน ได้แก่ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน ข้าราชการเทศบาลหนึ่งคน ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งคน
                    3) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย และด้านการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวนหกคน โดยให้มีอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
          อนึ่ง กรณีจังหวัดใดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งอยู่ในจังหวัด ให้เพิ่มผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดสองคน ผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งหนึ่งคน ผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิสองคน ประกอบเป็นอนุกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัด
          โดยให้ อ.ก.ถ.จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการและกำกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎ ประกาศ ระเบียบ มาตรฐาน และมติที่ ก.ถ. กำหนด ให้คำปรึกษาและแนะนำในการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสริมสร้างและพัฒนาข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้ความเห็นชอบการบรรจุ การแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น การดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ถ. กำหนด และปฏิบัติการอื่นตามที่ ก.ถ. มอบหมาย ทั้งนี้ ให้มีสำนักงาน อ.ก.ถ.จังหวัด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการในหน้าที่ของ อ.ก.ถ.จังหวัด
          (3) กระบวนการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
                    1) การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้ง บัญญัติให้ ก.ถ. มีอำนาจหน้าที่จัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น การสอบคัดเลือกและคัดเลือกตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น บริหารท้องถิ่น สายงานบริหารสถานศึกษา แต่สำหรับการสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานจากตำแหน่งประเภททั่วไปเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นเดิม
                    2) อำนาจการบังคับบัญชา บัญญัติให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง การโอน การรับโอน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย และการให้ออกจากราชการ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับการย้าย การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้เป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นและปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
                              ก. ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามัญตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                              ข. ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามัญตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น และตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ
                              ค. ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ
                              ง. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการส่วน ท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งตาม ก. ข. และ ค.
                    3) วาระการดำรงตำแหน่ง บัญญัติให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้สับเปลี่ยนหน้าที่โดยการโอนไปปฏิบัติหน้าที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
                    4) การโอนระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บัญญัติให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น โอนย้ายสับเปลี่ยนกันได้ บนพื้นฐานขอความสมัครใจและความยินยอมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่กรณีมีเหตุความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ก.ถ. อาจดำเนินการแทนโดยยกเว้นหลักความสมัครของข้าราชการส่วนท้องถิ่นและความยินยอมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    5) การกำหนดโครงสร้างและอัตรากำลัง บัญญัติให้ ก.ถ. กำหนดตามความเหมาะสม ความรับผิดชอบปริมาณงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบและแต่ละขนาด ทั้งนี้ สำหรับการ กำหนดตำแหน่งพนักงานจ้างตามภารกิจที่มีชื่อตำแหน่งซ้ำซ้อนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องมีจำนวน ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนอัตรากำลังของข้าราชการส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง
                    6) กำหนดจรรยาสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อถือปฏิบัติ
                    7) กำหนดระเบียบ ขั้นตอน วิธีการ เกี่ยวกับวินัยและการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่น และกำหนดระเบียบ ขั้นตอน วิธีการกรณีข้าราชการส่วนท้องถิ่นกระทำผิดร่วมกันกับผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถือปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
          (๔) การพิทักษ์ระบบคุณธรรมท้องถิ่น
          บัญญัติให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมท้องถิ่น (ก.พ.ค.ท้องถิ่น) ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน โดยให้รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมอบหมายปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการ มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ร้องทุกข์ ออกกฎ ก.พ.ค.ท้องถิ่น ประกาศ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการคุ้มครองระบบคุณธรรมให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ ทั้งนี้ ให้มีสำนักงาน ก.พ.ค.ท้องถิ่น ตั้งอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการในหน้าที่ของ ก.พ.ค.ท้องถิ่น

อ่านร่าง พ.ร.บ. เพิ่มเติม

การแสดงความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....

คำชี้แจง :ขอความกรุณาผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบคำตอบที่มีให้ โดยให้ตอบแบบสอบถามทุกข้อ ตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของข้าราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
1.เพศ
ชาย หญิง
2.อายุ
อายุไม่เกิน 30 ปี
อายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 40 ปี
อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50 ปี
อายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 60 ปี
อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
3.ระดับการศึกษา
ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช./ปวส.
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
ไม่ระบุ
4.ดำรงตำแหน่ง
ประเภททั่วไป
ประเภทวิชาการ
ประเภทอำนวยการ/อำนวยการท้องถิ่น
ประเภทบริหาร/บริหารท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น
สมาชิกสภาท้องถิ่น
ลูกจ้าง/พนักงานจ้าง
อื่น ๆ นอกจากที่ระบุข้างต้น
5.สังกัด
ข้าราชการพลเรือน
องค์การบริหารส่วนตำบล
เทศบาล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เมืองพัทยา
กรุงเทพมหานคร
อื่น ๆ
6.ภูมิลำเนา
ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ....
1. กำหนดให้ "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น" หมายถึง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการเทศบาล ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการเมืองพัทยา
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
2. การจัดระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของท้องถิ่นและสอดคล้องกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นและของรัฐ โดยต้องมีประสิทธิภาพความคุ้มค่าและระบบคุณธรรม
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
3. กำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของข้าราชการส่วนท้องถิ่นลูกจ้างหรือพนักงานจ้างจะสูงกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายไม่ได้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
4. องค์กรบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา มีเพียงองค์กรเดียว คือ คณะกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
5. องค์ประกอบของคณะกรรมการ ก.ถ.เป็นแบบไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
6. กำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีความเป็นกลาง และไม่มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นคู่สัญญาทั้งนี้ กรณีปรากฏว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความประพฤติเสื่อมเสีย ก.ถ. อาจมีมติให้พ้นจากตำแหน่งได้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
7. กำหนดให้สำนักงาน ก.ถ. สังกัดกระทรวงมหาดไทย
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
8. ในระดับจังหวัด ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัด (อ.ก.ถ.จังหวัด) มีองค์ประกอบเป็นแบบไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
9. คุณสมบัติของกรรมการผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น หรือประเภทอำนวยการท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
10. กำหนดให้ ก.ถ. มีอำนาจสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
11. กำหนดให้ ก.ถ. มีอำนาจสอบคัดเลือก คัดเลือกตำแหน่งบริหารท้องถิ่น อำนวยการท้องถิ่น และสายงานบริหารสถานศึกษา
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
12. กำหนดให้ ก.ถ. มีอำนาจในการโอนข้าราชการส่วนท้องถิ่นกรณีมีความขัดแย้งในพื้นที่ โดยมิต้องสมัครใจ
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
13. นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน การลงโทษทางวินัยและการให้ออกจากราชการ หรือการอื่นใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
เว้นแต่การย้าย การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้เป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นและปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
(1) ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามัญตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นสามัญตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดองค์กรปกครอง
      ส่วนท้องถิ่นตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น และตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ
(3) ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ
      เชี่ยวชาญขึ้นไป ทั้งนี้ ตามที่ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ
(4) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งตาม (1) (2) และ (3)
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
14. นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน การลงโทษทางวินัยและการให้ออกจากราชการ หรือการอื่นใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
15. วินัยการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย บัญญัติรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
16. กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมท้องถิ่น (ก.พ.ค.ท้องถิ่น) มีหน้าที่พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
17. กำหนดอัตราส่วนของอัตรากำลังพนักงานจ้างตามภารกิจที่มีชื่อตำแหน่งซ้ำซ้อนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
18. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดำรงตำแหน่งในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งไม่เกิน 4 ปี
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
ขอขอบคุณที่กรุณาตอบแบบสอบถาม
สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ส่วนมาตรฐานทั่วไปการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น โทร 0-2241-9000 ต่อ 4217