หน้าแรก
ส่วนมาตรฐานวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์
หลักสูตรเกี่ยวกับวินัย
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คลินิกวินัย (ถาม-ตอบ)
ลิ้งค์ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง





เครือข่ายวินัยย้ายที่
กิจกรรมเครือข่ายวินัย
การประชุม/สัมมนา


  • ความเป็นมาของเครือข่าย (ที่มาที่ไปของเครือข่าย)

การดำเนินการทางวินัยข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่เดิมมาได้อิงอาศัยระบบวินัยของข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม นับแต่มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ ต่อมาในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่่น พ.ศ.๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ซึ่งมีหลักการให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงานบุคคล โดยเฉพาะการดำเนินการทางวินัยเอง ดังนั้น ผู้บริหารท้องถิ่น (นายก อปท.) จึงเป็นผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจากข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา (บางครั้งอาจมีการยืมตัวข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น) ซึ่งยังขาดประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และความเข้าใจในกระบวนการขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย ทั้งผู้ออกคำสั่งและผู้เป็นกรรมการสอบสวน ด้วยเหตุนี้ได้กลายเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการใช้ดุลยพินิจหรือการสั่งการซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย การไม่เข้าใจบทบาท อำนาจและหน้าที่อันแท้จริง ก่อให้เกิดความขัดแย้ง จนนำไปสู่การร้องเรียน ฟ้องร้องเป็นคดีความจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความด้อยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนานัปการ

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นให้แก่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในทุกระดับตำแหน่ง ทั้งปลัด/รองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย นิติกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายฯ เป็นต้น

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๙ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นต้องมีวินัยกำกับอยู่ตลอดเวลาขณะรับราชการ และผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นแล้วเริ่มมีมากขึ้น หากขาดการทำกิจกรรมด้านวินัยอย่างต่อเนื่องอาจทำให้หลงลืม และทำผิดวินัยหรือดำเนินการทางวินัยผิดพลาดได้ ซึ่งจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการพัฒนาใหม่อีก จึงได้ดำเนินการจัดตั้งให้ผู้ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกคนเป็น “เครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Diciplinary Inquiry Committee Networks) เรียกชื่อย่อว่า DIN”

 

 

  • จุดประสงค์เครือข่าย

  • เพื่อสร้างเครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยให้แก่จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถขอตัวเครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนไปช่วยปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสอบสวนได้ รวมทั้งการเรียนรู้ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายภาครัฐ ทำให้ไม่ต้องฝึกอบรมพนักงานส่วนท้องถิ่นทั้งหมด
  • เพื่อเร่งรัดให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นธรรมในกระบวนการดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ
  • เพื่อสร้างให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมเป็นนักวินัย “มืออาชีพ”
  • เพื่อสร้าง “วิทยากรตัวคูณ” ในการขยายความรู้ด้วยการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้

 

  • คำขวัญเครือข่าย

"สมัครใจ ใฝ่ยุติธรรม"
"Voluntarity seek justice"

 

  • แนวทางการจัดตั้งและดำเนินการกิจกรรมเครือข่าย

s