กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ

 

สวัสดีครับพี่น้องชาว สถ. และ อปท. ทุกท่าน...

 

คราวนี้เรามาคุยถึงเรื่องกฎหมายทางการเงินที่เป็นประโยชน์กับพวกเรากันนะครับ   

 

 

 

 

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ

 

 

ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.. ๒๕๕๑ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  ๑๑ สิงหาคม

 

๒๕๕๑  ได้กำหนดให้เงินฝากทุกประเภทของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ (ยกเว้นธนาคารของรัฐบาล) จะได้รับ

 

ความคุ้มครองสำหรับจำนวนเงินฝากตามระยะเวลา ดังนี้

               

ปีที่

ระยะเวลา

จำนวนเงินที่คุ้มครอง

 

๑๑ ส.. ๒๕๕๑ -  ๑๐ ส.. ๒๕๕๒

เต็มจำนวน

 

๑๑ ส.. ๒๕๕๒ -  ๑๐ ส.. ๒๕๕๓

เต็มจำนวน

 

๑๑ ส.. ๒๕๕๓ -  ๑๐ ส.. ๒๕๕๔

เต็มจำนวน

 

๑๑ ส.. ๒๕๕๔ -  ๑๐ ส.. ๒๕๕๕

ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท

 

๑๑ ส.. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

ไม่เกิน ๑ ล้านบาท

 

 

 

 

                จากผลของกฎหมายดังกล่าว ทำให้บัญชีเงินฝากธนาคารหรือสถาบันการเงินของประชาชนทั่วไป  นิติบุคคล 

 

ส่วนราชการ องค์กรต่าง ๆ ฯลฯอาทิ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนบำเหน็จ

 

บำนาญ  กระทรวง  ทบวง  กรม   ซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    หากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ประชาชนหรือ

 

หน่วยงานเหล่านั้นฝากเงินไว้ล้มหรือปิดกิจการ  โดยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน จำนวนเงิน

 

ในทุกบัญชีที่ฝากไว้เมื่อรวมกันแล้ว (รวมถึงเงินฝากในบัญชีทุกประเภททุกสาขาของธนาคารนั้น ๆ) ผู้ฝากจะได้รับการคุ้มครอง

 

เบื้องต้นทันทีตามจำนวนที่ระบุตามช่วงเวลาดังกล่าว และหากจำนวนเงินที่ฝากไว้สูงมากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับความคุ้มครอง

 

เงินฝากที่เหลือจะเป็นมูลหนี้ที่จะรวบรวมเพื่อรอการพิจารณาชำระบัญชีและเฉลี่ยจ่ายคืนตามสิทธิให้แก่เจ้าหนี้และผู้ฝากตาม

 

ระเบียบกฎหมายต่อไป

 

                สรุปได้ว่า ณ ขณะนี้จนถึงวันที่ ๑๐ส..๒๕๕๕ หากธนาคารหรือสถาบันการเงินใดล้มหรือปิดกิจการประชาชน

 

และหน่วยงานต่าง ๆ  ซึ่งฝากเงินไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งนั้นจะได้รับเงินฝากคืนภายใน  ๓๐ วันนับตั้งแต่วันยื่น

 

คำขอรับเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนเงินที่ได้ฝากไว้  แต่จะได้รับไม่เกินรายละ  ๕๐ ล้านบาท  และนับตั้งแต่

 

วันที่ ๑๑ ส.. ๒๕๕๕ เป็นต้นไปจะได้รับเงินฝากคืนไม่เกินรายละ ๑ ล้านบาท

 

               ดังนั้น กรณีเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งตามระเบียบกฎหมายจะต้องนำฝากเงินไว้กับธนาคารจึงจำเป็น

 

อย่างยิ่งที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านการเก็บรักษาเงินจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลของพระราชบัญญัติ

 

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.. ๒๕๕๑ และต้องศึกษา ติดตามและพยายามเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฐานะ การดำเนิน

 

กิจการ และความมั่นคงของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ อปท.ฝากเงินไว้ โดยต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการบริหาร

 

ความเสี่ยงเกี่ยวกับเงินฝากธนาคารของ อปท. ในอนาคตด้วย

 

 

ช่วงนี้สถานการณ์น้ำท่วมกระจายไปทั่วระมัดระวังกันด้วย..การช่วยเหลือต่างๆ จะทยอยเข้าไปนะครับ

 

 

 

นายขวัญชัย  วงศ์นิติกร

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น