การกันเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

สวัสดีครับพี่น้องชาว สถ. และ อปท. ทุกท่าน...

 

 

 

          ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้สิ้นปีงบประมาณ จึงขอหยิบยกเรื่องวิธีการกันเงินงบประมาณเพื่อให้ชาวท้องถิ่นได้ปฏิบัติ 

 

อย่างถูกต้องไม่ต้องปวดหัวเวลา สตง. เข้าตรวจ

 

 

                         การกันเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

         การกันเงิน หมายถึงการที่เงินงบประมาณของท้องถิ่นไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณ  แต่มีความจำเป็น

 

ที่จะต้องใช้จ่ายเงินนั้นอยู่ ซึ่งในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน

 

และการตรวจเงินของ อปท. .. ๒๕๔๗ ก็ได้กำหนดวิธีกันเงินงบประมาณไว้ ๒ กรณี คือ

 

          ๑. การกันเงินกรณีที่มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วก่อนสิ้นปี แต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินเมื่อเป็นกรณีที่เกิดจากการสั่งซื้อหรือ

 

สั่งจ้างหรือการเช่าทรัพย์สินก่อนสิ้นปีงบประมาณ เจ้าหน้าที่จะต้องทำหนังสือให้ผู้บริหารท้องถิ่นลงนาม  เพื่อจะได้นำเงิน

 

ดังกล่าวไว้ใช้เบิกให้กับเจ้าหนี้ ภายหลังสิ้นปีงบประมาณได้อีก ๑ ปีงบประมาณ แต่ถ้ายังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันก็สามารถ

 

ขยายเวลาเบิกจ่ายต่อสภาท้องถิ่นอีก ๖ เดือน

 

          ๒. การกันเงินกรณีที่ยังไม่ได้ก่อหนี้ผูกพันนั้นก็คือ ยังไม่ได้ทำสัญญา หากรายจ่ายเป็นหมวดครุภัณฑ์ ที่ดิน  และ

 

สิ่งก่อสร้าง และมีความจำเป็นต้องใช้เงินนั้นต่อไปอีก ก่อนสิ้นปีงบประมาณเจ้าหน้าที่จะต้องนำรายจ่ายตามงบประมาณเข้า

 

สภาท้องถิ่นเพื่อขออนุมัติกันเงินไว้ใช้อีก ปีงบประมาณ เพื่อหาตัวผู้รับจ้าง หากหาตัวผู้รับจ้างไม่ได้อีก ระเบียบก็ให้ขยาย

 

เวลาการเบิกจ่ายเงินเพิ่มอีก ปีงบประมาณ โดยขออนุมัติต่อสภาท้องถิ่น

 

 

          เห็นไหมครับการกันเงินงบประมาณง่ายนิดเดียว หากเราศึกษาให้เข้าใจ.......

 

                                               

                  

                                                                   นายขวัญชัย  วงศ์นิติกร

                                                            อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น