การตั้งงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่ออุดหนุนให้ส่วนราชการอื่น ๆ

 และแนวทางการบังคับภาษีค้างชำระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

          ...สวัสดีครับพี่น้องชาว สถ. และ อปท. ทุกท่าน...

 

                          เรามาคุยกันเรื่องเงินทองกันหน่อยขอแค่สองเรื่อง เบา ๆ แล้วกัน

 

 

. การตั้งงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่ออุดหนุนให้ส่วนราชการอื่น ๆ

 

               ในปัจจุบันหากมีหน่วยงานใด ๆ มีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อปท.  จะต้องทำโครงการเสนอขอรับงบประมาณ

 

จาก อปท.   และ  อปท.  ที่จะให้การสนับสนุนจะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ในหมวด เงินอุดหนุน  โดยถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ     

 

การกระจายอำนาจให้แก่ อปท.   ลงวันที่  ๒๓  พฤศจิกายน  ๒๕๕๒  เรื่อง   หลักเกณฑ์การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด   เทศบาล และ

 

องค์การบริหารส่วนตำบลในการให้บริการสาธารณะ ดังนี้

 

 

.๑ ภารกิจที่จะสนับสนุนเป็นภารกิจด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขหากเป็นภารกิจอื่นจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ

 

อำนวยการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ระดับจังหวัด แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ผู้สนับสนุน

 

.๒ หน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนพร้อมเหตุผลความจำเป็นและรายละเอียดของโครงการที่มี

 

งบประมาณไม่เพียงพอ โดยแบ่งส่วนงบประมาณของตนเอง และงบประมาณที่จะขอรับ การสนับสนุนให้ชัดเจน

 

.๓ อปท. ผู้สนับสนุนพิจารณาโครงการตามหลักเกณฑ์และอยู่ในอำนาจหน้าที่พิจารณาถึงสถานะทางการคลังแล้วกำหนดโครงการไว้ใน

 

แผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรจุโครงการที่ขอรับการสนับสนุนไว้ในข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

 

.๔ การสนับสนุนงบประมาณ

 

๑.๔.๑ อบจ. อุดหนุนได้ไม่กินร้อยละ ๑๐ ของรายได้ที่ผ่านมาไม่รวมเงินอุดหนุน

 

๑.๔.๒ เทศบาลขนาดใหญ่อุดหนุนไม่เกินร้อยละ ๒ ของรายได้ที่ผ่านมาไม่รวมเงินอุดหนุน

 

๑.๔.๓ เทศบาลขนาดกลาง ขนาดเล็ก อุดหนุนได้ไม่เกินร้อยละ ๓ ของรายได้ที่ผ่านมาไม่รวมเงินอุดหนุน

 

๑.๔.๔ อบต. อุดหนุนได้ไม่เกินร้อยละ ๕ ของรายได้ที่ผ่านมาไม่รวมเงินอุดหนุน

  

     หาก อปท.ต้องสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานอื่นเกินอัตราร้อยละที่กำหนดจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการฯ 

 

ระดับจังหวัด แต่ทั้งนี้ อปท ไม่สามารถจ่ายขาดเงินสะสม หรือเงินกู้เพื่อไปสนับสนุนหน่วยงานอื่นได้               

 

                   อย่างไรก็ตามการอุดหนุนงบประมาณให้หน่วยงานอื่น อปท. มักจะมีปัญหาในกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเรียกเงินคืน   ดังนั้น

 

จึงขอเน้นย้ำให้ อปท. พิจารณาการอุดหนุนงบประมาณให้หน่วยงานอื่น เป็นไปตามหลักเกณฑ์และรอบคอบ

 

 

. แนวทางการบังคับภาษีค้างชำระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

          แนวทางการบังคับภาษีค้างชำระของ อปท. มี ๒ แนวทาง ดังนี้

 

.๑  การดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งหาก อปท. มีความประสงค์จะดำเนินการด้วยวิธีดังกล่าว สำนักงานอัยการสูงสุดได้ให้

 

ข้อสังเกตว่า ให้ อปท. ใช้อำนาจบังคับทางปกครองด้วยวิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีก่อน หากไม่สามารถ

 

ดำเนินการยึด  หรืออายัดได้  หรือดำเนินการแล้วแต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน อปทสามารถส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดี

 

ภาษีอากร สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

 

.๒  ดำเนินการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษี  ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการยึด อายัด และ

 

ขายทอดตลาดทรัพย์สินของ อปท. .. ๒๕๕๑

 

 

                        จากทั้งสองเรื่องยังมีรายละเอียดอีกมากนะครับต้องไปศึกษาเพิ่มเติมให้ดีนะครับ เพื่อความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพของ อปท.

 

 

 

 

                                นายขวัญชัย วงศ์นิติกร

                                  อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น