FAQ : ถาม-ตอบ ในการประชุม

     จำนวนรายการต่อหน้า

คำตอบ (21): ยังไม่มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกู้เงินของ อบต.
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (22): อบต. ยังไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปก่อสร้างที่ทำการ อบต. ได้ เนื่องจากยังไม่มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกู้เงินของ อบต. รองรับ
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (23): กรณีขยายเขตไฟฟ้า ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/ ว 2916 ลงวันที่ 27 กันยายน 2553 เรื่อง แนวทางการตั้งงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนเพิ่มเติม โดย อบต. ที่มีความประสงค์จะพัฒนาท้องถิ่น จะขอรับการสนับสนุนให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการให้ เช่น การจัดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ หรือ ขยายเขตไฟฟ้า ประปา ให้ อปท. ประสานหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขอรายละเอียดค่าใช้จ่ายและตั้งงบประมาณในหมวดเงินอุดหนุน
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (24): การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ กำหนดจัดสรรตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ ซึ่งกำหนดให้กรมการขนส่งทางบกนำส่งเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดใด ให้จัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดนั้นทั้งจำนวนเป็นรายเดือน ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรดังกล่าว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (25): กรณีอุดหนุนให้องค์กรภาคประชาชน ไม่ต้องมีงบประมาณสมทบ แต่หากอุดหนุนให้ส่วนราชการ อปท. หน่วยงานของรัฐ จะต้องมีงบประมาณของตนเองสมทบ แต่จะเป็นจำนวนเท่าไหร่นั้น อปท. ผู้สนับสนุนเป็นผู้พิจารณาตามประกาศ กกถ. และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/ว 74 ลงวันที่ 8 มกราคม 2543
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (26): การจ่ายขาดเงินสะสมตามระเบียบเบิกจ่ายข้อ 89 ประกอบหนังสือสั่งการ ที่ มท 0808.4 /ว 3161 ลว 12 ต.ค. 53 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. นั้น 1) อปท.อาจใช้จ่ายเงินสะสม โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่น ให้ระบุวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินให้ชัดเจนและให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและท้องถิ่นที่จะได้รับเป็นสำคัญ 2) ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นกิจการที่ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง หากไม่กระทำจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ หรือกิจการที่เกี่ยวกับการบริการชุมชนและสังคมของประชาชนในพื้นที่ หรือกิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน หรือเป็นการเพิ่มพูนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเป็นโครงการเพื่อการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดิน หรือโครงการที่ใช้วงเงินงบประมาณที่มีมูลค่าสูง ให้พิจารณาจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือโอนงบประมาณรายจ่ายมาตั้งจ่ายก่อนเป็นลำดับแรก หรือโอนงบประมาณรายจ่ายมาตั้งจ่ายไว้แล้วแต่งบประมาณมีไม่เพียงพอก็อาจใช้จ่ายจากเงินสะสมสมทบเพื่อการนั้นได้ หากพิจารณาเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการบำบัดความเดือดร้อนของประชาชนหรือการบริการชุมชนและสังคมของประชาชนในพื้นที่ และไม่อาจรอจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีต่อไปได้ก็อาจใช้จ่ายจากเงินสะสมได้ โดยจะต้องเป็นโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีเงินสะสมคงเหลือเพียงพอในการบริหารงานเพื่อมิให้เกิดผลกระทบกับฐานะการคลังในระยะยาว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (27): ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต.ในการประชุมครั้งที่๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ได้มีมติปรับปรุงหลักเกณฑ์ในสาระสำคัญ คือ ๑.หน่วยดำเนินการสอบได้แก่ ท้องถิ่น หรือ คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น(กสถ.) เป็นผู้ดำเนินการสอบแทน ๒.ท้องถิ่นเป็นผู้จัดสอบสามารถบรรจุแต่งตั้งได้เฉพาะท้องถิ่นนั้น และหากว่า กสถ.เป็นผู้จัดสอบสามารถบรรจุแต่งตั้งในกลุ่มจังหวัดที่กำหนด กลุ่มละ ๖ ถึง ๙ จังหวัด ๓.กสถ.มีคณะกรรมการ จำนวน ๑๓ คน ประกอบด้วย ผู้แทน ก.จ. ก.ท. ก.อบต. และผู้แทนส่วนราชการที่กำหนด ๔.กรณี กสถ.ดำเนินการสอบแข่งขันจะมอบให้มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ผลิตข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ประมวลผลคะแนนสอบ หรืองานอื่นที่ กสถ.มอบหมาย ๕.การจัดสอบแข่งขันเปิดรับสมัครสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ตพร้อมกันทั้งประเทศ โดยผู้สมัครสอบสามารถแสดงความประสงค์ที่จะเลือกบรรจุแต่งตั้ง และทดสอบภาค ก. ภาค ข. และภาค ค.ตามภาค/เขต ที่กำหนดได้ ๖.หลักสูตรการสอบทดสอบประกอบด้วย (๑) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(ภาค ก) (๑๐๐ คะแนน) ให้ทดสอบวิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล วิชาภาษาไทย และวิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (๒) ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) (๑๐๐ คะแนน) (๓) ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง(ภาค ค) (๑๐๐ คะแนน) การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบแข่งขันได้ให้เรียงลำดับจากคะแนนสูงสุดลงมาตามลำดับโดยนำคะแนนภาค ก. ข. ค. มารวมกัน ทั้งนี้ผู้สอบแข่งขันได้จักต้องได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ๗.บัญชีผู้สอบแข่งขันได้มีอายุ ๒ ปี โดยกำหนดเงื่อนไขว่าผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะต้องดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บรรจุแต่งตั้งอย่างน้อย ๑ ปีไม่มีข้อยกเว้น จึงจะขอโอนไปสังกัดหน่วยงานราชการอื่นได้ ๘.เมื่อหลักเกณฑ์ฉบับนี้ประกาศใช้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมิอาจขอใช้บัญชีของกระทรวง ทบวง กรม อื่นได้ ซึ่งขณะนี้ร่างประกาศฯอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.ลงนามในประกาศ
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (28): การโอนสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยไม่มีตำแหน่งว่าง กระทำได้เฉพาะ อปท.ประเภทเดียวกัน เมื่อ อบต.และเทศบาล ขณะนี้กฎหมายกำหนดให้เป็นข้าราชการต่างประเภทกัน จึงไม่สามารถโอนสับเปลี่ยนกันได้
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (29): กรณีดังกล่าวให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การรักษาราชการแทน กล่าวคือ ในกรณีที่ไม่มีผู้มาดำรงตำแหน่ง และกรณีที่มีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้กฎหมาย จึงให้มีผู้รักษาราชการแทน ซึ่งการรักษาราชการแทนนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นคำสั่งหรือหนังสือแต่งตั้งอีก และเมื่อมีผู้มาดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้ว การรักษาราชการแทนสิ้นสุดลงและหากโดยตำแหน่งแล้วผู้ซึ่งตนแทน หรือผู้ที่มอบอำนาจหรือมอบหมายเป็นกรรมการใดโดยตำแหน่ง ผู้รักษาราชการแทน และผู้ปฏิบัติราชการแทนก็เป็นกรรมการนั้นด้วย และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันทุกประการไม่ต้องเปลี่ยนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการในเรื่องนั้น ทั้งนี้ จะได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจังหวัดได้ให้คำแนะนำ เพื่อให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ต่อไป
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (30): กรณีดังกล่าวมีข้อจำกัดด้านกฎหมายและมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เมื่อมีข้อเสนอ สถ.จะพิจารณาจสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (31): กรณีดังกล่าวมีข้อจำกัดด้านกฎหมายและมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เมื่อมีข้อเสนอ สถ.จะพิจารณาจสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (32): อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย มท.
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (33): ความเดือดร้อนขององค์กรปกครองส่วนทัองถิ่นที่มีภาระด้านงบประมาณเกี่ยวกับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่สูงมากนั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.....ซึ่งได้มีการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ไว้ในมาตรา ๑๒๗ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกันจัดให้มีกองทุนสวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะดำเนินการได้ก็เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้เมื่อร่าง พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับและต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในการดำเนินการให้ทันต่อความเดือดร้อนจำเป็นของข้าราชการท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้ประสานงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หารือแนวทางในการที่จะร่วมมือกับ สปสช. โดยหากเข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจัดสวัสดิการดังกล่าวให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณสุข ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาหารือร่วมกันเพื่อประสานหาแนวทางและวิธีการดำเนินการ
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (34): ความเดือดร้อนขององค์กรปกครองส่วนทัองถิ่นที่มีภาระด้านงบประมาณเกี่ยวกับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่สูงมากนั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.....ซึ่งได้มีการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ไว้ในมาตรา ๑๒๗ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกันจัดให้มีกองทุนสวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะดำเนินการได้ก็เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้เมื่อร่าง พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับและต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในการดำเนินการให้ทันต่อความเดือดร้อนจำเป็นของข้าราชการท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้ประสานงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หารือแนวทางในการที่จะร่วมมือกับ สปสช. โดยหากเข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจัดสวัสดิการดังกล่าวให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณสุข ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาหารือร่วมกันเพื่อประสานหาแนวทางและวิธีการดำเนินการ
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (35): ความเดือดร้อนขององค์กรปกครองส่วนทัองถิ่นที่มีภาระด้านงบประมาณเกี่ยวกับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่สูงมากนั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.....ซึ่งได้มีการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ไว้ในมาตรา ๑๒๗ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกันจัดให้มีกองทุนสวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะดำเนินการได้ก็เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้เมื่อร่าง พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับและต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในการดำเนินการให้ทันต่อความเดือดร้อนจำเป็นของข้าราชการท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้ประสานงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หารือแนวทางในการที่จะร่วมมือกับ สปสช. โดยหากเข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจัดสวัสดิการดังกล่าวให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณสุข ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาหารือร่วมกันเพื่อประสานหาแนวทางและวิธีการดำเนินการ
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (36): ความเดือดร้อนขององค์กรปกครองส่วนทัองถิ่นที่มีภาระด้านงบประมาณเกี่ยวกับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่สูงมากนั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.....ซึ่งได้มีการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ไว้ในมาตรา ๑๒๗ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกันจัดให้มีกองทุนสวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะดำเนินการได้ก็เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้เมื่อร่าง พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับและต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในการดำเนินการให้ทันต่อความเดือดร้อนจำเป็นของข้าราชการท้องถิ่น ดังนั้นจึงได้ประสานงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หารือแนวทางในการที่จะร่วมมือกับ สปสช. โดยหากเข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจัดสวัสดิการดังกล่าวให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณสุข ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาหารือร่วมกันเพื่อประสานหาแนวทางและวิธีการดำเนินการ
[ สน.บถ. : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น]

คำตอบ (37): กฏหมายทั้ง ๔ ฉบับ ดังกล่าว สน.กร. ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างประมวลกฎหมาย อปท. และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการทบทวนและพิจารณาเพื่อให้เกิดความรอบคอบ หลังจากที่ร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว คณะรัฐมนตรีไม่ยืนยันต่อรัฐสภาทำให้ร่างกฎหมายตกไป คาดว่าการดำเนินการของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นใหม่จะแล้วเสร็จและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๕
[ กม. : กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น]

คำตอบ (38): ควรจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น โทร. ๐๒-๒๔๑๙๐๔๐ /๐๒-๒๔๑๙๐๔๓ และ ๐๒-๒๔๑๙๐๔๗ ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องโดยตรง ตรวจสอบและพิจารณาดำเนินการให้
[ สน.พร. : สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้าง **]

คำตอบ (39): งบประมาณโครงการเศรษฐกิจชุมชน เป็นงบประมาณของรัฐ โดยมีกรมการปกครองดูแลอยู่ จึงมิใช่ทรัพย์สินของ อบต. และตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.๒๕๔๑ ใช้ดำเนินการเฉพาะกับ อบต.เท่านั้น ไม่รวมเทศบาล ดังนั้น เมื่อจัดตั้งเป็นเทศบาลจึงต้องคืนเงินโครงการให้กับอำเภอ
[ สน.พร. : สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้าง **]

คำตอบ (40): หากมีเอกสารที่เกี่ยวข้องเช่น ผลสำรวจความเห็นของประชาชน รายงานการประชุมสภา อบต. ให้รวบรวมส่ง นอภ. ในฐานะผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานของ อบต. พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของจังหวัดและกระทรวง
[ สน.พร. : สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้าง **]

first previous ข้อมูลที่ 21 - 40 จาก 46 next last
  • 61,525,119
  • 1,877