FAQ : ถาม-ตอบ ในการประชุม

     จำนวนรายการต่อหน้า

คำตอบ (1): อยู่ระหว่างการยกร่างระเบียบ มท.ว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนเทศบาล พ.ศ. ........ และในระเบียบได้กำหนดค่าตอบแทนเป็นค่าเบี้ยประชุมในอัตรา 250 บาท/คน/ครั้ง และไม่เกิน 500 บาท/คน/เดือน
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (2): ไม่ใช่ทรัพย์สินของ อปท. ไม่สามารถดำเนินการได้
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (3): โปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดทำขึ้นเป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้ดำเนินการในการจัดการฐานข้อมูล ฐานข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ประกอบในการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินคือระวางที่ดินของกรมที่ดิน (สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือจังหวัดสาขา) แต่ขณะนี้ระวางของที่ดินยังเป็นระบบเอกสาร ไม่ได้ดำเนินการจัดทำเป็นระบบดิจิตอล (มีโครงการนำร่องเพียง ๒-๓ แห่ง) สำหรับการประสานข้อมูลกับกรมที่ดินนั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ประสานกับกรมที่ดินมาตลอด และกรมที่ดินได้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานที่ดินจังหวัดและจังหวัดสาขา เพื่อให้ความร่วมมือในกรณีที่หน่วยงานไปขอข้อมูลตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว๑๒๓๐๙ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมกรณีส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจขอตรวจหลักฐานขอคัดลอกหรือขอถ่ายสำเนา เอกสารข้อคิดเห็นกรณีกรมที่ดินยังไม่ได้ดำเนินการจัดทำระวางที่ดินดิจิตอล (รูปแปลงที่ดิน) นี้ หากกรมที่ดิน (สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือจังหวัดสาขา) ให้การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยการให้ข้อมูลระวางที่ดินระบบเอกสาร เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปจัดทำเป็นระบบดิจิตอลเสร็จแล้ว สามารถนำข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลับไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงาน
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (4): การจัดเก็บเงินภาษีประจำปีรวมทั้งเงินเพิ่มและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และเงินภาษีรถยนต์ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นหน้าที่กรมการขนส่งทางบกในฐานะนายทะเบียนซึ่งมีอำนาจจดทะเบียนรถและจัดเก็บเงินภาษีและค่าธรรมเนียม สำหรับเงินภาษีและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ดังกล่าว บัญญัติให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครกรณีที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น - ในส่วนการจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียม กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกนำส่งเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครกรณีที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานคร และ อบจ.กรณีที่จัดเก็บได้ในจังหวัดอื่น ตามประกาศคณะกรรมการการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ กรณีที่จะให้ อบต. และเทศบาลได้รับการจัดสรรภาษีล้อเลื่อนด้วยนั้น ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดสรรในประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยขณะนี้คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (5): การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ กำหนดจัดสรรตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้แก่ อปท. ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ ซึ่งกำหนดให้กรมการขนส่งทางบกนำส่งเงินภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดใด ให้จัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดนั้น ทั้งจำนวนเป็นรายเดือน ดังนั้น กรณีให้รัฐจัดสรรภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ให้ อบต. โดยตรงนั้นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดสรรในประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยขณะนี้คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (6): กรณีที่จะจัดเก็บภาษีจากเสาไฟฟ้าที่พาดผ่านที่สาธารณะของ อปท. นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีกฎหมายกำหนดให้อำนาจ อปท. ในการจัดเก็บภาษีหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยวินิจฉัยแล้วว่า เสาไฟฟ้าไม่ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ดังนั้น การที่จะให้ออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจากเสาไฟฟ้า จึงเป็นเรื่องของนโยบายที่จะต้องพิจารณาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (7): กรณีข้อเสนอให้ใช้ประชากรแฝงในเขต อปท. มาใช้ในการจัดสรรภาษีให้กับ อปท. ย่อมมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกับ อปท. จึงต้องมีการศึกษาผลกระทบของการนำประขากรแฝงในเขต อปท. มาใช้ในการจัดสรรภาษีด้วย และในประเด็นนี้ได้เคยมีการเสนอให้มีการนำประชากรแฝงในเขต อปท. มาใช้ในการจัดสรรภาษีแต่ยังไม่ได้ข้อยุติในเรื่องดังกล่าว
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (8): กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในท้องถิ่นแต่ได้จดทะเบียนเสียภาษีที่กรุงเทพฯ จะเป็นผลให้อบจ. ไม่ได้รับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละห้า (VAT ๕%) ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ในเขตจังหวัดสำหรับเทศบาลและ อบต. จะมีผลต่อสัดส่วนรายได้ที่จัดเก็บได้ในเขตจังหวัดที่จะนำมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ๑ใน๙) ที่เทศบาลและ อบต. จะได้รับการจัดสรร
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำถาม 9 : ในขณะนี้เทศบาล อบต. ได้จัดโครงการผู้สูงอายุภายใต้วันสงกรานต์โดย อปท. ได้จัดซื้อของแจกผู้สูงอายุ อาทิเช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู แต่ สถ. ได้มาตรวจและให้เรียกเงินคืนในการซื้อของแจกผู้สูงอายุ ซึ่ง อปท. ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจและตาม พ.ร.บ. สภาตำบลและ อบต. ม.67 ขอเรียนถามว่า 1. สถ. มีหน้าที่ส่งเสริม อปท. หรือ จับผิด 2. สถ. ควรมีหนังสือซักซ้อมแนวทางปฏิบัติไปทั่วประเทศได้ปฏิบัติในแนวเดียวกันว่าไม่สามารถซื้อของแจกผู้สูงอายุได้ 3. อปท. ทั่วประเทศก็ได้มีการซื้อเสื้อผ้าแจกผู้สูงอายุ เหตุใดจึงไม่ไปเรียกเงินคืนให้เหมือนๆกัน เป็นลักษณะปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม new

คำตอบ (9): การดำเนินการโครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์ของ อปท. เป็นการจัดงานตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0313.4/ว 1347 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 เรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ของ อปท. ที่กำหนดให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ของ อปท. ที่กำหนดให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็นและประหยัด โดยคำนึงถึงฐานะการคลังของ อปท. เป็นสำคัญ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจของ อปท. ในการพิจารณาดำเนินโครงการจัดงานต่างๆ ได้ ทั้งนี้ หากการจัดซื้อชุดของขวัญดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่จำป็นต่อการจัดงานอันก่อให้เกิดประโยชน์และสอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ อปท. ก็สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่ตั้งไว้
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (10): กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ยังไม่สั่งระงับการเบิกจ่าย ก็สามารถเบิกจ่ายต่อไปได้
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (11): การออกคำสั่งให้ อปพร. ปฏิบัติงาน จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 21 ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย อปพร. ข้อ 23
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำถาม 12 : การจ่ายขาดเงินสะสมไปทำโครงการที่ประชาชนเดือดร้อนในกรณีที่เงินอุดหนุนหมดหรือมีไม่พอ ให้กับหน่วยงานอื่นดำเนินการ เช่น การขยายเขตไฟฟ้า ไฟทางสาธารณะ ที่ประชาชนเสี่ยงต่ออันตรายเชิงทรัพย์ ลอบทำร้าย แอบค้าขายยาเสพติด และอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน ดังกล่าว ประชาชนเดือดร้อน และร้องขอมาสภาอนุมัติให้ดำเนินการ แต่ปัจจุบัน สตง. เรียกให้จ่ายคืน 1. จะให้ท้องถิ่นปฏิบัติอย่างไรในกรณีที่ สตง. เรียกเงินคืน 2. อยากให้กรมส่งเสริมฯ แก้ไขปัญหาโดยออกระเบียบให้ อปท. สามารถจ่ายขาดเงินสะสมเพื่ออุดหนุนการไฟฟ้า เบิกจ่ายขยายเขตไฟฟ้าได้ เป็นกรณีพิเศษเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน new

คำตอบ (12): กรณีขยายเขตไฟฟ้า ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/ ว 2916 ลงวันที่ 27 กันยายน 2553 เรื่อง แนวทางการตั้งงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนเพิ่มเติม โดย อบต. ที่มีความประสงค์จะพัฒนาท้องถิ่น จะขอรับการสนับสนุนให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการให้ เช่น การจัดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ หรือ ขยายเขตไฟฟ้า ประปา ให้ อปท. ประสานหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขอรายละเอียดค่าใช้จ่ายและตั้งงบประมาณในหมวดเงินอุดหนุน
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (13): การตั้งงบประมาณอุดหนุน อปพร. ไม่สามารถกระทำได้ รายละเอียดตามหนังสือมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/ว 3795 ลงวันที่ 27 พ.ย. 2552 เรื่อง การตั้งงบประมาณและการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าวัสดุเครื่องแต่งกายของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (14): ภาษีบำรุงท้องที่เป็นกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง ดังนั้น การพิจารณาปรับราคาประเมินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นหน้าที่ของกรมการปกครองในการพิจารณา
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (15): การพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้และเงินอุดหนุนเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ตามมาตรา 12(3) (11) และการจัดสรรให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำถาม 16 : นโยบายในการปรับฐานภาษีโรงเรือนและที่ดินให้สูงขึ้น ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้เป็นการดำเนินการของผู้บริหาร อปท. มีผลทำให้การจัดเก็บรายได้ของ อปท. บางแห่ง (หลายแห่ง) ไม่เพิ่มขึ้น เหตุเพราะผู้บริหาร อปท. ไม่มีนโยบายในการขึ้นอัตราภาษี บางแห่งใช้อัตราภาษีเดิมมานานเป็นสิบปี ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลกลางจะได้มีการนำปัญหาดังกล่าวไปกำหนดเป็นนโยบาย หรือแก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดให้ อปท. เพิ่มอัตราภาษีทุก ๓-๕ ปี เพื่อให้ผู้บริหาร อปท. ดำเนินการตามนโยบายและชี้แจงประชาชนได้ว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล หรือกฎหมายกำหนดให้การขึ้นอัตราภาษี เป็นเรื่องของจังหวัดเป็นแกนนำโดยตรง ส่วนผู้บริหาร อปท. เป็นผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น new

คำตอบ (16): การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี ซึ่งอัตราภาษีดังกล่าวเป็นอัตราที่กำหนดโดยกฎหมาย ดังนั้น กรณีที่จะให้มีการปรับอัตราภาษีขึ้น จึงต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ อีกทั้ง กรณีที่จะประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเพิ่มขึ้น จะต้องมีเหตุที่ทำให้ค่ารายปีสูงขึ้น เช่น เจ้าของทรัพย์สินมีโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นจากเดิม หรือค่าเช่าเดิมที่ประเมินเป็นค่าเช่าที่ไม่สมควร เป็นต้น
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (17): การอุดหนุนให้สำนักงานที่ดิน เพื่อจ้างคนในการคำนวณจัดสรรภาษีคืนให้ท้องถิ่น เป็นหน้าที่ของกรมที่ดินตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ มิใช่หน้าที่ของ อปท.
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (18): การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวนเงิน 85,694,939,000 บาท 2. เมื่อ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 ยังไม่ประกาศใช้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2554 ไปพลางก่อน โดยจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ครั้ง จำนวน 26,399,651.154 บาทคิดเป็นร้อยละ 30.81 ของเงินอุดหนุนทั่วไป ดังนี้ ครั้งที่ 1 จัดสรร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2554 จำนวน 17,354,209,533 บาท ครั้งที่ 2 จัดสรรเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2554 จำนวน 9,045,441,621 บาท 3. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 สำนักงบประมาณได้อนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 4. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นคำนวณการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปตามหลักเกณฑ์และแจ้งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 และคาดว่าจะจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนที่เหลือจำนวน 59,295,288,746 บาท ได้ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2555
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (19): 1. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 523 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง ขอซักซ้อมแนวทางการดำเนินโครงการและการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แจ้งให้จังหวัดเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้แก่ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัด (ศพส.จ.) 2. การดำเนินการสนับสนุนจังหวัดเพื่อดำเนินการในเรื่องยาเสพติด ให้ถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในการให้บริการสาธารณะ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

คำตอบ (20): อปท. ออกคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวไปเข้าร่วมอบรมแล้วกำหนดให้เบิกค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของ อปท. บุคคลดังกล่าวก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามระเบียบเดินทางไปราชการ ข้อ 4
[ สน.คท. : สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น]

first previous ข้อมูลที่ 1 - 20 จาก 46 next last
  • 61,558,266
  • 14,422