แบบสอบถามความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ....

สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ....
(ฉบับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)


          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดทำสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .... เพื่อให้กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยจะยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งยังมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สมควรปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นใหม่ และปรับปรุงบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นได้สะดวก และมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้
          ๑. เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                    ปัจจุบันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นมีความยุ่งยากไม่สะดวกในการดำเนินการ เนื่องจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิของประชาชนไว้อยู่ในระดับที่สูงมาก เป็นผลให้การใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยประชาชนตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยากและนับแต่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา ยังไม่ปรากฏว่ามีประชาชนได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นแต่ประการใด
                    ดังนั้น เพื่อให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นขึ้นใช้ภายในเขตท้องถิ่นเป็นไปได้โดยสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น ตามหลักการแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นจึงสมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวโดยยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒และให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .... แทน
          ๒. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    (๑) กำหนดนิยาม และแก้ไขเพิ่มเติมนิยาม เพื่อให้เกิดความชัดเจนเช่น ข้อบัญญัติท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ริเริ่ม (ร่างมาตรา ๔)
                    (๒) กำหนดจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยปรับลดจำนวนลงจาก "จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง" เป็น "ต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมกันไม่น้อยกว่าห้าพันคนหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นสำหรับการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน"สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔๒ (๔) และมาตรา ๑๖๓ และร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช .... (วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙) มาตรา ๑๓๓ (๓) เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นได้สะดวกมากขึ้น (ร่างมาตรา ๕) โดยในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นอาจมีผู้ริเริ่มซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนเพื่อดำเนินการจัดให้มีการรวบรวมลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแจ้งให้ประธานสภาท้องถิ่นทราบเป็นหนังสือและขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายแก่ประชาชนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าว (ร่างมาตรา ๕/๑)
                    (๓) กำหนดรายละเอียดคำร้องขอให้ประธานสภาท้องถิ่นดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งรวมถึงเนื้อหาสาระของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต้องมีความชัดเจนอย่างเพียงพอและกำหนดผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ใดร่วมลงชื่อในการเข้าชื่อดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้แล้วให้ถือว่าการเข้าชื่อนั้นมีผลสมบูรณ์และจะถอนการเข้าชื่อในภายหลังอีกมิได้(ร่างมาตรา ๖)
                    (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ในตรวจสอบคำร้องขอให้ประธานสภาท้องถิ่นดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติ การปิดประกาศและการคัดค้านรายชื่อผู้เข้าชื่อ การแจ้งให้ผู้แทนของผู้เข้าชื่อทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเพิ่มเติมให้ครบ(ร่างมาตรา ๗)
                    (๕) กำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นและเสนอต่อสภาท้องถิ่นโดยเร็ว เพื่อให้สภาท้องถิ่นต้องพิจารณาร่างข้อบัญญัติที่ประชาชนเสนอให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ที่ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นนั้นกำหนด(ร่างมาตรา ๘)
                    (๖) กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นซ้ำ ในกรณีที่สภาท้องถิ่นไม่เห็นชอบร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอมา สภาท้องถิ่นจะพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นของผู้มีสิทธิเข้าชื่อที่มีหลักการเดียวกันนั้นซ้ำอีกภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีมิได้(ร่างมาตรา ๙)
                    (๗) การกำหนดโทษทางอาญากับผู้ที่กระทำความผิดในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นและเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมายในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น(ร่างมาตรา ๑๐ - ร่างมาตรา ๑๒)
                    (๘) กำหนดบทเฉพาะกาลให้การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ยื่นต่อประธานสภาท้องถิ่นแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าได้กระทำถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว ให้ถือว่าเป็นการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้(ร่างมาตรา ๑๓)
                    (๙) กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา ๑๔)

อ่านร่าง พ.ร.บ. เพิ่มเติม

การแสดงความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นพ.ศ. ....

คำชี้แจง :ขอความกรุณาผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบ โดยให้ตอบแบบสอบถามทุกข้อตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ในการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และยกร่างกฎหมายนี้ขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
1.เพศ
ชาย หญิง
2.อายุ
อายุไม่เกิน 30 ปี
อายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 40 ปี
อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50 ปี
อายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 60 ปี
อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
3.ระดับการศึกษา
ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช./ปวส.
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
ไม่ระบุ
4.ดำรงตำแหน่ง
ประเภททั่วไป
ประเภทวิชาการ
ประเภทอำนวยการ/อำนวยการท้องถิ่น
ประเภทบริหาร/บริหารท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น
สมาชิกสภาท้องถิ่น
ลูกจ้าง/พนักงานจ้าง
อื่น ๆ นอกจากที่ระบุข้างต้น
5.สังกัด
ข้าราชการพลเรือน
องค์การบริหารส่วนตำบล
เทศบาล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เมืองพัทยา
กรุงเทพมหานคร
อื่น ๆ
6.ภูมิลำเนา
ส่วนที่ 2 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. ....
1. "ผู้ริเริ่ม" หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เริ่มดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อประธานสภาท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
2. ผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นอยู่ในวันที่ยื่นคำร้อง
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
3. การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมกันไม่น้อยกว่าห้าพันคน หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น สำหรับการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
4. ในการเข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติต่อประธานสภาท้องถิ่น อาจมีผู้ริเริ่มซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนเพื่อดำเนินการจัดให้มีการรวบรวมลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือก ตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแจ้งให้ประธานสภาท้องถิ่นทราบเป็นหนังสือพร้อมด้วยเอกสารดังต่อไปนี้
4 (1)เนื้อหาสาระของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ประสงค์จะตราขึ้นเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
4 (2)รายชื่อของผู้ริเริ่มพร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ รวมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
4 (3)ในกรณีที่ผู้ริเริ่มประสงค์จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายแก่ประชาชนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าวก่อนที่จะ แจ้งประธานสภาท้องถิ่น ก็ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานนั้นดำเนินการให้ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
5. คำร้องขอให้ประธานสภาท้องถิ่นดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
5 (1)ชื่อ ที่อยู่ และลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อทุกคนพร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตร หรือหลักฐาน อื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ รวมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุและในเอกสารการลงลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกแผ่น ต้องปรากฏข้อความให้ผู้ประสงค์จะลงลายมือชื่อทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องใด และสามารถตรวจสอบเนื้อหา ข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ที่ใด
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
5 (2)เนื้อหาสาระของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ประสงค์จะตราขึ้นเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ต้องมีความชัดเจนอย่างเพียงพอ ในการนี้จะมีสรุปสาระสำคัญและคำชี้แจงความมุ่งหมายของการกำหนดหลักการ ในแต่ละเรื่องด้วยก็ได้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
5 (3)รายชื่อผู้แทนของผู้เข้าชื่อที่จะมีอำนาจดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการเสนอและการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
5 (4)คำรับรองของผู้แทนของผู้เข้าชื่อที่จะมีอำนาจดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการเสนอและการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น ว่าผู้เข้าชื่อทุกคนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นและเป็นผู้ร่วมลงชื่อด้วยตนเอง
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
5 (5)ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ใดร่วมลงชื่อในการเข้าชื่อดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วให้ถือว่าการเข้าชื่อนั้นมีผลสมบูรณ์และจะถอนการเข้าชื่อในภายหลังอีกมิได้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
6. เมื่อประธานสภาท้องถิ่นได้รับคำร้องขอให้ดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นแล้วให้ประธานสภา ท้องถิ่นตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารดังกล่าวถ้าเห็นว่าครบถ้วนแล้วให้ประธานสภาท้องถิ่นจัดให้มีการปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อดังกล่าวไว้ ณ ที่ทำการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเขตชุมชนหนาแน่นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
7. ในกรณีที่ผู้ใดมีชื่อเป็นผู้เข้าชื่อดังกล่าวตามประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นตามข้อ 6 โดยมิได้ร่วมเข้าชื่อด้วยให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อประธานสภาท้องถิ่นหรือบุคคลที่ประธานสภาท้องถิ่นแต่งตั้ง เพื่อให้ขีดฆ่าชื่อตนเอง ออกจากบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อดังกล่าวได้ภายในยี่สิบวันนับแต่วันปิดประกาศ
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
8. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาคัดค้านตาม ข้อ 7ให้ถือว่ารายชื่อของผู้เข้าชื่อที่ไม่มีการคัดค้านเป็นรายชื่อที่ถูกต้อง และถ้ามีจำนวนครบตามข้อ 3 ให้ประธานสภาท้องถิ่นดำเนินการพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อไป แต่ถ้ามีจำนวนไม่ครบตามข้อ 3 ให้ประธานสภาท้องถิ่น แจ้งให้ผู้แทนของผู้เข้าชื่อตามข้อ 5(3) ทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเพิ่มเติมให้ครบตามข้อ 3 ภายในสามสิบวัน ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว มิได้เสนอการเข้าชื่อจนครบจำนวนให้ประธานสภาท้องถิ่นจำหน่ายเรื่อง
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
9. เมื่อประธานสภาท้องถิ่นได้รับคำร้องขอให้ดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และได้ดำเนินการตรวจสอบรายชื่อครบถ้วนถูกต้องตามข้อ 6 และ 7 แล้วให้ส่งคำร้องนั้นให้ผู้บริหารท้องถิ่นดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น และเสนอต่อสภาท้องถิ่นโดยเร็ว ภายในสมัยประชุมนั้น หรือสมัยประชุมถัดไป และสภาท้องถิ่นต้องพิจารณาร่างข้อบัญญัติที่ประชาชนเสนอให้เสร็จสิ้นภายใน ระยะเวลาตามที่ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นนั้นกำหนด
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
10. ในกรณีที่สภาท้องถิ่นไม่เห็นชอบร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอมา สภาท้องถิ่นจะพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นของผู้มีสิทธิเข้าชื่อที่มีหลักการเดียวกันนั้นซ้ำอีกภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีมิได้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
11. ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
(1)ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
(2)หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคามเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
(3)กระทำการใดโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดสามารถใช้สิทธิเข้าชื่อหรือร่วมเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือขัดขวางการดำเนินการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
12. ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
13. ผู้ใดลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร หรือใช้ หรืออ้างลายมือชื่อปลอมเช่นว่านั้น เพื่อให้ผู้ใดผู้หนึ่งหลงเชื่อว่า เป็นลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ความเห็นอื่น ๆ
ขอขอบคุณในความร่วมมือที่ท่านได้สละเวลาให้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .... ตามลำดับขั้นตอนต่อไป
กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น
กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น ๑ โทร ๐-๒๒๔๑-๙๐๓๕-๖